วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด

สัปดาห์ที่ 2
จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษา

จงยกตัวอย่างนวัตกรรมการศึกษาในปัจจุบันอย่างน้อย 3 ชนิด

สัปดาห์ที่ 3-7
Mind map ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและ Case Study

สัปดาห์ที่ 8   (18 ธันวาคม 2555)
QUIZ


สัปดาห์ที่ 9  
1.  จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย  10 ข้อ 
2.  บทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษายุค ICT  ควรปรับตัวอย่างไร
3.  ผลกระทบ ICT ต่อการจัดการศึกษา



สัปดาห์ที่ 10 หยุดวันปีใหม่

สัปดาห์ที่ 11    (8 มกราคม  2556)
นำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน




สัปดาห์ที่ 12-14
อธิบายสถานภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาในปัจจุบัน
1.  การสอนในระบบ (formal  education)
2.  การสอนนอกระบบ  (Informal education)
3.  การเรียนการสอนตามอัธยาศัย  (nonformal education) 

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555




  

 
    ครูปกรณ์เป็นครูสอนวิชาภาษาไทย วิธีการสอนครูปกรณ์มักจะสอนหรือบรรยายให้นักเรียนจำ และสื่อการสอนที่นำมาใช้ในประกอบการสอนก็เป็นหนังสือเรียน การสอนบนกระดาน

     โดยครูปกรณ์มีความเชื่อที่ว่า การสอนที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น คือสามารถทำให้นักเรียนสามารถจำเนื้อหา เรื่องราวในบทเรียนให้ได้มากที่สุด ส่วน นักเรียนของครูปกรณ์ก็เป็นประเภทที่ว่ารอรับเอาความรู้จากครูแต่เพียงอย่างเดียว ดำเนินกิจกรรมการเรียนตามที่ครูกำหนดทั้งหมด เรียนไปได้ไม่นานก็เบื่อ ไม่กระตือรือร้นที่จะหาความรู้จากที่อื่นเพิ่มเติม 
        ซึ่งจากวิธีการสอนของครูปกรณ์และลักษณะของนักเรียนที่กล่าวมาทั้งหมด ได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นคือ เมื่อเรียนผ่านมาได้ไม่นานก็ทำให้ลืมเนื้อหาที่เคยเรียนมา ไม่สามารถคิดได้ด้วยตนเองและไม่สามารถที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้

ภารกิจ
ให้นำแนวคิดจากทฤษฎี Constuctivism มาใช้ในวิธีการจัดการเรียนการสอนและการใช้สื่อการสอน ของครูปกรณ์ ให้เหมาะสมกับยุคปฏิรูปการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ




ครูณเดช เป็นครูที่พึ่งมาบรรจุใหม่ ผู้อำนวยการโรงเรียนมอบหมายให้ครูณเดชสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และเป็นห้องเด็กเก่งด้วย ยิ่งทำให้ครูณเดชรู้สึกไม่มั่นใจในการสอนว่าตนเองจะสามารถทำได้ดีหรือไม่และนักเรียนจะสนุกหรือสนใจในวิธีการสอนของตนเองหรือไม่ ที่สำคัญคือนักเรียนห้องนี้มีลักษณะที่ชอบค้นคว้า หาความรู้ กิจกรรมที่เน้นให้ปฏิบัติได้ลงมือกระทำ ฝึกคิดหรือที่ท้าทายการทำงานนักเรียนจะชอบมาก อีกทั้งยังเรียนพิเศษแบบเข้มข้นเนื้อหาในหนังสือเรียนส่วนใหญ่นักเรียนจะรู้และทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมาก่อนแล้ว แต่ที่สังเกตได้ชัดคือนักเรียนจะแข่งกันเรียน ทำงานกลุ่มไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนฝากความหวังไว้ที่ครูณเดชเพื่อช่วยพัฒนานักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ห้องนี้ให้ได้
     1. ครูณเดชจะมีหลักในการเตรียมความพร้อมให้มีประสิทธิภาพตามทฤษฎีพัฒนาการได้อย่างไร
            2.
 ให้เลือกว่าจะใช้สื่อแบบใดจึงจะสอดคล้องกับลักษณะระดับพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียนในสถานการณ์ที่กำหนดให้
รหัสวิชา 9121619 ชื่อวิชา หลักทฤษฎีและวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 3(3-0-6)(Principles Theories and Visions in Educational Technology and Communications)     
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
สาขาวิชา 
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

จุดมุ่งหมายของรายวิชา
 1.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจสามารถอธิบายและตอบคำถามเกี่ยวกับความเป็นมาและความสำคัญของเทคโนโลยีทางการศึกษา
 2.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบาย และตอบคำถามเกี่ยวกับ หลักการและทฤษฎีพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษา 
 3.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบายและตอบคำถาม เกี่ยวกับแนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษาได้
 4. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบายและตอบคำถาม เกี่ยวกับแนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทางการศึกษาได้

คำอธิบายรายวิชา
.....
หลักการและทฤษฎีพื้นฐานทางเทคโนโลยีการศึกษา แนวโน้มและความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เหมาะสมในภาวะปัจจุบัน

การวัดและการประเมินผล
1.
การวัดผล คะแนนเต็ม 100 คะแนน
...1.1
คะแนนระหว่างภาคเรียน 70 คะแนน
-
จิตพิสัย/การเข้าชั้นเรียน สายเกิน 15 นาที 3 ครั้ง=ขาดเรียน 1 ครั้ง

10 คะแนน 
-
รายงานแผ่นพับ หัวข้อ "ทฤษฎีทางเทคโน
โลยีและสื่อสารการศึกษา" เลือกมา 1 ทฤษฎี 10 คะแนน
-
รายงานกลุ่มด้วย 
WEB BLOG 4-5 คน พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน หัวข้อ "วิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา"  20 คะแนน
-การเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน 10 คะแนน ส่งในชม.เรียนเท่านั้น 
- QUIZ  20 คะแนน
...1.2คะแนนปลายภาค 30 คะแนน
-
สอบปลายภาค 30 คะแนน
เกณฑ์การประเมินผล

.....
การประเมินผลการเรียน ค่าระดับคะแนนแบ่งเป็น 8 ระดับ
A
ดีเยี่ยม 4.0 ระดับคะแนน 80-100
B+
ดีมาก 3.5 ระดับคะแนน 75-79
B
ดี 3.0 ระดับคะแนน 70-74
C+
ดีพอใช้ 2.5 ระดับคะแนน 65-69
C
พอใช้ 2.0 ระดับคะแนน 60-64
D+
อ่อน 1.5 ระดับคะแนน 55-59
D
อ่อนมาก 1.0 ระดับคะแนน 50-54
F
ตก 0.0 ระดับคะแนน
0-49

เอกสารประกอบการสอน


บทนำ
กิดานันท์  มลิทอง (2543 : 245)  ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นแนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
                เคนเนท (Kencth,1955 : 128 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ นำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา  ประกอบด้วย
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
                             1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้   ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้
                                1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน
                             1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์ อิริคสัน กีเซล
2. ทฤษฎีการสื่อสาร   รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และผู้รับสื่อ
3. ทฤษฎีระบบ   จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
4. ทฤษฎีการเผยแพร่ กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น



หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
นวัตกรรม
วสันต์  อติศัพท์ กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม หรือ นวกรรม เป็นคำสมาสระหว่าง นวและ กรรม”  ซึ่งมีความหมายว่า ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ บัญญัติ คำว่า นวัตกรรม (Innovation) ขึ้นเดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in(=in)+novare= to renew, to modify) และnovare มาจากคำว่า novus (=new)
Innovate แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่,เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)
กิดานันท์  มลิทอง (2543 : 245)  ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรม เป็นแนวความคิด การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
นวัตกรรม (Innovation) ในการจัดการเรียนการสอน เช่น การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ใช้วิธีการสอนแบบใหม่ เปลี่ยนไปจากการใช้วิธีบรรยาย ซักถามธรรมดา การผลิตวัสดุ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน (Instructional Materials) การจัดทำ จัดหาพวกวัสดุ อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองได้ ซึ่งเป็นพวก Software เช่น การทำแผนภาพ แผนภูมิ หาวัสดุในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการสอน การจัดทำ บทเรียนสำเร็จรูป” “บทเรียนโปรแกรมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการสอนซ่อมเสริม การจัดให้นักเรียนเก่งช่วยนักเรียนอ่อน ให้นักเรียนเป็นผู้ช่วยครู (Teacher assistant) เป็นต้น



กิดานันท์  มลิทอง (2543  : 259)  ได้กล่าวว่า
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
   - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
   - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
   - เครื่องสอน (Teaching Machine)
   - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
   - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
   - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
   - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
   - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
    -การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น
    - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
    - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
    - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
    - การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
  - มหาวิทยาลัยเปิด
   - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
   - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป
   - ชุดการเรียน






เทคโนโลยีการศึกษา
จากการรบวรวมของ นายนิคม พวงรัตน์  ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม. เทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาว่า
กู๊ด (Good, 1963 :592 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ และเครื่องมือของระบบการสอนเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน
 เคนเนท (Kencth,1955 : 128 ) กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้สำหรับการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้การสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ นำมาใช้เป็นอุปกรณ์การเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยี(Technology) ในการจัดการเรียนการสอนเช่นโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้คอมพิวเตอร์ให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอน นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนของการเรียนรู้ที่ซอฟแวร์ในคอมพิวเตอร์สั่งการตามลำดับขั้นการใช้วิดีโอเทปการใช้วิทยุใช้โทรทัศน์ช่วยสอนรับบทเรียนทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เช่น การรับบทเรียนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นการอาศัยการใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
เฒ่าลิขส์ ( 2546, http://taolik.thatphanom.com/techno05.htm)   กล่าวว่า
การใช้นวัตกรรม(Innovation)และเทคโนโลยี(Technology)ในการจัดการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนถ้าใช้ทั้ง2อย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆทางวิทยาศาสตร์มาใช้เรียก“INNOTECH”ซึ่งมาจากคำเต็มว่า“Innovation Technology”เป็นการนำเอาคำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน
ในปัจจุบันถือว่าเป็นความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องนำเอาหลักวิชาใหม่ๆประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นใช้และใช้เทคนิคใหม่ๆที่เป็นInnovation มาใช้ร่วมกันไปกับสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นอุปกรณ์สำเร็จรูปเป็นเครื่องช่วยสอนซึ่งเป็นTechnologyนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไปว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำ INNOTECH เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา
เฒ่าลิขส์ ( 2546, http://taolik.thatphanom.com/techno05.htm)   กล่าวว่า
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษา
การนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ .-
1. ประสิทธิภาพ(Efficiency) ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
2.ประสิทธิผล(Productivity) ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น และ
3. ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน
เฒ่าลิขส์ ( 2546, http://taolik.thatphanom.com/techno05.htm)   กล่าวว่า
INNOTECH หรือนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา มี 18 ประการ
อินโทเทคมี 18 รายการ ดังต่อไปนี้ โดยพวก 11 ข้อแรก จัดเป็น วิธีการและข้อ พวกหลัง จัดเป็น เครื่องมือต่าง ๆ
1. การเรียนการสอนระบบไม่มีชั้น (Non –Graded System)
2. ระบบการเรียนโดยนักเรียนสอนกันเอง นักเรียนเก่งสอนนักเรียนอ่อน (Peer Tutoring)
3. การจัดคาบเวลาการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น (Modular Scheduling)
4. การแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามวิชาที่เลือก ตามความถนัด ความสามารถหรือความสนใจของเด็ก (Flexible Grouping)
5. การกำหนดวิธีการสอนให้เหมาะสมกับแต่ละรายบุคคล (Individually Prescribed Instructing )
6. โครงการส่งเสริมสมรรถภาพควรเรียนด้วยตนเอง โดยลดเวลาการสอนลง (Reduced Instructional Time)
7. การเตรียมครูสำหรับโครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา โดยลดบทบาทการสอนและสั่งการของครูลง (Non –Traditional Roles of Teachers)
8. โครงการอิมแพ็คท์ คือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผู้ปกครอง ชุมชนและครูร่วมกันจัดกิจกรรมให้การศึกษา (Instructional Management by Parents, comminuting and Teachers ; IMPACT)
9. การรวมเนื้อหาหลักสูตรที่เกี่ยวเนื่องกันให้อยู่ในหน่วยการสอนเดียวกัน (Integrated Curricular)
10. การสอนแบบโปรแกรม (Programmed Interaction)
11. การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
12. การสอนโดยใช้อุปกรณ์จำลอง (Simulation Technique)
13. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
14.การเรียนระบบควบคุมด้วยตนเองใช้บทเรียนสำเร็จรูปด้วยตนเอง(Instruction Module) ต้องผ่านวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมในแต่ละบทเรียนก่อนที่จะเรียนบทต่อไป
15. โทรทัศน์ช่วยสอน (Instruction Television)
16. โทรทัศน์เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ด้วยการศึกษา (Educational Television)
17. เครื่องช่วยสอน (Teaching Machines)
18. วิทยุช่วยสอน (Radio Broadcast)

หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
             1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้
                1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
             1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
3. ทฤษฎีระบบ
4. ทฤษฎีการเผยแพร่

1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา

1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้   ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ  1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)
2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)
ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม
นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าวไว้ว่า ปฏิกริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม
ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ทอนไดค์ (Thorndike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญคือ
1. กฎแห่งการผล (Law of Effect)
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
3. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)

ธอร์นไดค์ นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวเยอรมัน ผู้ให้กำเนินทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ ได้เสนอหลักการ ภารกิจของการสอนของครูไว้ 2 ประการ และเสนอหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ 5 ประการ   ภารกิจการสอนของครู ควรจะดำเนินไปตามแนวของกฎ 2 ประการ คือ
1. ควรจัดเรื่องหรือสิ่งที่จะสอนต่าง ๆ ที่ควรจะไปด้วยกัน ให้ได้ดำเนินไปด้วยกัน
2. ควรให้รางวัลการสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสม และไม่ควรให้ความสะดวกใด ๆ ถ้าไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงที่เหมาะสมขึ้นมาได้
นอกจากนั้น ธอร์นไดค์ ยังได้กำหนดหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนของเขาไว้ 5 ประการคือ
1. การกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง (Self – Activity)
2. การทำให้เกิดความสนใจด้วยการจูงใจ (Interest Motivation)
3. การเตรียมสภาพที่เหมาะสมทางจิตภาพ (Preparation and Mentalset)
4. คำนึงถึงเรื่องเอกัตบุคคล (Individualization)
5. คำนึงถึงเรื่องการถ่ายทอดทางสังคม (Socialization)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข/ทฤษฎีการเสริมแรง (S-R Theory หรือ Operant Conditioning) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ สกินเนอร์ (Skinner) กล่าวว่า ปฏิกริยาตอบสนองหนึ่งอาจไม่ใช่เนื่องมาจากสิ่งเร้าสิ่งเดียว สิ่งเร้านั้นๆ ก็คงจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นเดียวกันได้ ถ้าได้มีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้อง
การนำทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมมาใช้กับเทคโนโลยีการศึกษานี้จะใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับลักษณะดังต่อไปนี้คือ
1. การเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอน (Step by Step)
2. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของผู้เรียน (Interaction)
3. การได้ทราบผลในการเรียนรู้ทันที (Feedback)
4. การได้รับการเสริมแรง (Reinforcement)
แนวคิดของสกินเนอร์นั้น นำมาใช้ในการสอนแบบสำเร็จรูป หรือการสอนแบบโปรแกรม (Program Inattention) สกินเนอร์เป็นผู้คิดบทเรียนโปรแกรมเป็นคนแรก








หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษาในแง่ของการเรียนรู้
                ประหยัด จิราวรพงศ์ (2547, หน้า 55-56) ได้กล่าวว่า
              คาร์เพนเตอร์ และเดล(C.R. Carpenter and Edgar Dale) ได้ประมวลหลักการและทฤษฏีเทคโนโลยีทางการศึกษาในลักษณะของการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ 10 ประการ คือ
1.หลักการจูงใจ  สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีพลังจูงใจที่สำคัญในกิจกรรมการเรียนการ สอน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถผลักดัน ส่งเสริมและเพิ่มพูนกระบวนการจูงใจ ที่มีอิทธิพลต่อพลังความสนใจ ความต้องการ ความปรารถนา และความคาดหวังของผู้เรียนที่จะศึกษา
2.การพัฒนามโนทัศน์ (Concept)  ส่วนบุคคล  วัสดุการเรียนการสอนจะช่วนส่งเสริมความ คิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละคน  ดังนั้นการเลือก การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน  ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนที่กำหนด
3.กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยี   ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติเกี่ยว กับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้นการเลือก การใช้การตอบสนอง และผลิตผลจึงจะต้องพิจารณาเป็นแผนรวมเพื่อสนองความต้องการและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างสอดคล้องกัน
4.การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา  ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบ และมีความหมายตามความสามารถของเขา
5.การมีส่วนรวมและการปฏิบัติ  ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วม  และการปฏิบัติด้วยตนเองมากที่ สุด  จากกิจกรรมการเรียนการสอน  เพราะเป็นหนทางที่จะทำให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ  ดังนั้นการจัดสื่อเทคโนโลยีควรคำนึงถึงหลักการเหล้านี้
6.การฝึกซ้ำและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อยๆ  สื่อที่สามรารถส่งเสริมการฝึกซ้ำและมีการ เปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอ  จะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ  เพิ่มความคงทนในการจำยั่วยุความสนใจและทำให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง
7.อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน  อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อความรู้ต่างๆ  จะ ต้องมีความสอดคล้องกับ  ความสามารถอัตราการเรียนรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
8.ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล  สื่อที่มีลักษณะชัดเจน  สอดคล้องกับ ความต้องการ  และสัมพันะกับผลที่พึงประสบค์ของผู้เรียนจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
9.การถ่ายโยงที่ดี  โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายทอดไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ  จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยงเพราะผู้เรียนต้องการแนะนำในการปฏิบัติ  เพ่อประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งผู้สอนจะต้องวางแผนจัดประสบการณ์ที่จะส่งเสริมการถ่ายดยงความรู้ใหม่ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้นั้นที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง
10.การให้รู้ผล  การเรียนรู้จะดีขึ้น  ถ้าหากสื่อเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทำทันที  หลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
ส่วนบูเกสสกี (Bugelski)  ได้สนับสนุนว่า การเรียนรู้จะเป็นผลจากการกระทำของผู้เรียน ไม่ใช้กระบวนการถ่ายทอดของผู้สอน หากแต่ผู้สอนเป้นเพียงผู้เตรียมสถานการณ์และจัดระเบียบประสบการณ์ที่ทันสมัยไว้ให้  เพื่อผู้เรียนจะได้เชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้สะดวกซึ่งหมายถึงว่า  เทคโนโลยีทางการศึกษาจะเป็นตัวการประสานความรู้โดยตรงแก่ผู้เรียน
               นอกจากนี้  หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษายังต้องอาศัยวิธีการที่สำคัญอย่างน้อยอีก 2 วิธี คือ
               วิธีการเชิงมนุษยวิทยา (Humunistic Approach)   ได้แก่ การที่ครูให้ความสนใจต่อการ
พัฒนาในด้านความเจริญเติบโตของผู้เรียนแต่ละคน นักการศึกษา เชื่อว่าไม่มีวิธีการเรียนการสอนอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นวิธีที่ดีที่สุด หากแต่การใช้หลาย ๆ วิธีผสมผสานกัน (Integration) หรือเลือกวิธีการใด ๆ ก็ได้ที่เหมาะกับความต้องการของผู้เรียนนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
              วิธีการสอนเชิงระบบ (Systematic Approach) ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน โดยอาศัยวิธีระบบ ทั้งเพราะการเรียนการสอนเป็นการถ่ายทอดศิลปะ วัฒนธรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมในลักษณะของการเข้าใจเนื้อหาวิชา ซึ่งการจัดการเรียนการสอนไม่อาจปล่อยให้เป็นไปตามยะถากรรมหรือตามอำเภอใจของผู้สอนหรือผู้เรียนได้ โดยเหตุนี้การจัดการเรียนการสอนจึงต้องเป็นไปตามระบบ ก็คือ มีการวางแผนการสอนในด้านการจัดผู้เรียน วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และพยายามทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปตามแผนนั้น

ทฤษฎีการรับรู้
ได้กล่าวเกี่ยวกับทฤษฎีการรับรู้ว่า
การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจากการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง
จากการวิจัยมีการค้นพบว่า การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75% จากการได้ยิน 13% การสัมผัส 6% กลิ่น 3% และรส 3%
การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้า
เมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้นก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อการสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด ดังคำกล่าวของ ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์ (2528: 125) และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม (ม.ป.ป. : 125) ที่กล่าวว่า การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์ การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัยที่ทำให้เกิดมโนภาพและทัศนคติ ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับรู้
นอกจากนี้ กระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย ซึ่ง Fleming (1984: 3) ให้ข้อเสนอแนะว่ามีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้องรู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าวคือ
1โดยทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน
2ในการเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็นจริง
3เมื่อมีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความมุ่งหมาย
กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530: 487) กล่าวถึง บทบาทของการรับรู้ที่มีต่อการเรียนรู้ว่า บุคคลจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี และมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการรับรู้และการรับรู้สิ่งเร้าของบุคคล นอกจากจะขึ้นอยู่กับตัวสิ่งเร้าและประสาทสัมผัสของผู้รับรู้แล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมของผู้รู้และพื้นฐานความรู้เดิมที่มีต่อสิ่งที่เรียนด้วย
จิตวิทยาการเรียนรู้
เมื่อทราบถึงความสัมพันธ์ของการรับรู้ ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพแล้ว ผู้บรรยายจึงต้องเป็นผู้กระตุ้น หรือเสนอสิ่งต่าง ๆ ให้ผู้เรียน เพราะการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในตัว ผู้เรียนซึ่ง จำเนียร ช่วงโชติ (2519) ให้ความหมายไว้ว่า "การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเกิดจากประสบการณ์ที่มีขอบเขตกว้าง และสลับซับซ้อนมากโดยเฉพาะในแง่ของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม…"
วรกวิน (2523: 56-60) ได้กล่าวว่า  
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหมายถึง กิจกรรมที่ผู้เรียนแสดงออก และสามารถสังเกตและวัดได้ การศึกษากระบวนการเรียนรู้จึงต้องศึกษาเรื่องของพฤติกรรมมนุษย์ที่เปลี่ยนไปในลักษณะที่พึงประสงค์ การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ จะต้องมีระบบระเบียบ วิธีการ และอาศัยความรู้ต่าง ๆ เช่น จิตวิทยา การศึกษา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ กระบวนการสื่อความและสื่อความหมายและสื่อความหมาย การพิจารณาการเรียนรู้ของผู้เรียนจำเป็นต้องสังเกตและวัดพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป การศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ นำไปสู่การกำหนดทฤษฎี การเรียนรู้ต่าง ๆ ทฤษฎีกระบวนการกลุ่มพฤติกรรมร่วมกันระหว่างครูและผู้เรียนรวมทั้งวิธีการจัดระบบการเรียนการสอนที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้ไปตามวัตถุประสงค์
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
การเรียนรู้ของคนเรา จากไม่รู้ไปสู่การเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอนดังที่ กฤษณา ศักดิ์ศรี (2530) กล่าวไว้ดังนี้ "การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อสิ่งเร้า (stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (organism) ประสาทก็ตื่นตัว เกิดการรับสัมผัส หรือเพทนาการ (sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่น ๆ เรียกว่า สัญชาน หรือการรับรู้ (perception) เมื่อแปลความหมายแล้ว ก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (conception) แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนอง (response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม แสดงว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้วประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว…"
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย จึงมีคำกล่าวเสมอว่า "No one too old to learn" หรือ ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน การเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี
ธรรมชาติของการเรียนรู้ มี 4 ขั้นตอน คือ
1 ความต้องการของผู้เรียน (Want) คือ ผู้เรียนอยากทราบอะไร เมื่อผู้เรียนมีความต้องการอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใดก็ตาม จะเป็นสิ่งที่ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้
2 สิ่งเร้าที่น่าสนใจ (Stimulus) ก่อนที่จะเรียนรู้ได้ จะต้องมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจ และน่าสัมผัสสำหรับมนุษย์ ทำให้มนุษย์ดิ้นรนขวนขวาย และใฝ่ใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่น่าสนใจนั้น ๆ
3 การตอบสนอง (Response) เมื่อมีสิ่งเร้าที่น่าสนใจและน่าสัมผัส มนุษย์จะทำการสัมผัสโดยใช้ประสาทสัมผัสต่าง ๆ เช่น ตาดู หูฟัง ลิ้นชิม จมูกดม ผิวหนังสัมผัส และสัมผัสด้วยใจ เป็นต้น ทำให้มีการแปลความหมายจากการสัมผัสสิ่งเร้า เป็นการรับรู้ จำได้ ประสานความรู้เข้าด้วยกัน มีการเปรียบเทียบ และคิดอย่างมีเหตุผล
4 การได้รับรางวัล (Reward) ภายหลังจากการตอบสนอง มนุษย์อาจเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง จะได้นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การได้เรียนรู้ ในวิชาชีพชั้นสูง จนสามารถออกไปประกอบอาชีพชั้นสูง (Professional) ได้ นอกจากจะได้รับรางวัลทางเศรษฐกิจเป็นเงินตราแล้ว ยังจะได้รับเกียรติยศจากสังคมเป็นศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจทางสังคมได้ประการหนึ่งด้วย
ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในกระบวนการเรียนรู้ของคนเรานั้น จะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญ 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ (1) ประสบการณ์ (2) ความเข้าใจ และ (3) ความนึกคิด
1 ประสบการณ์ (experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทรับรู้อยู่ด้วยกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ถ้าไม่มีประสาทรับรู้เหล่านี้แล้ว บุคคลจะไม่มีโอกาสรับรู้หรือมีประสบการณ์ใด ๆ เลย ซึ่งก็เท่ากับเขาไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใด ๆ ได้ด้วย
ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่บุคคลได้รับนั้นย่อมจะแตกต่างกัน บางชนิดก็เป็นประสบการณ์ตรง บางชนิดเป็นประสบการณ์แทน บางชนิดเป็นประสบการณ์รูปธรรม และบางชนิดเป็นประสบการณ์นามธรรม หรือเป็นสัญลักษณ์
2 ความเข้าใจ (understanding) หลังจากบุคคลได้รับประสบการณ์แล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ตีความหมายหรือสร้างมโนมติ (concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล เพราะสมองจะเกิดสัญญาณ (percept) และมีความทรงจำ (retain) ขึ้น ซึ่งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า "ความเข้าใจ"
ในการเรียนรู้นั้น บุคคลจะเข้าใจประสบการณ์ที่เขาประสบได้ก็ต่อเมื่อเขาสามารถจัดระเบียบ (organize) วิเคราะห์ (analyze) และสังเคราะห์ (synthesis) ประสบการณ์ต่าง ๆ จนกระทั่งหาความหมายอันแท้จริงของประสบการณ์นั้นได้
3 ความนึกคิด (thinking) ความนึกคิดถือว่าเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในสมอง Crow (1948) ได้กล่าวว่า ความนึกคิดที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องเป็นความนึกคิดที่สามารถจัดระเบียบ (organize) ประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับให้เข้ากันได้ สามารถที่จะค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ทั้งเก่าและใหม่ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เกิดบูรณาการการเรียนรู้อย่างแท้จริง 
กลุ่มความรู้ (Cognitive)
นักจิตวิทยากลุ่มนี้เน้นความสำคัญของส่วนรวม ดังนั้นแนวคิดของการสอนซึ่งมุ่งให้ผู้เรียนมองเห็นส่วนรวมก่อน โดยเน้นเรียนจากประสบการณ์ (Perceptual experience) ทฤษฎีทางจิตวิทยาของกลุ่มนี้ซึ่งมีชื่อว่า Cognitive Field Theory นักจิตวิทยาในกลุ่มนี้ เช่น โคเลอร์(kohler) เลวิน (Lawin) วิทคิน (Witkin) แนวคิดของทฤษฎีนี้จะเน้นความพอใจของผู้เรียน ผู้สอนควรให้ผู้เรียนทำงานตามความสามารถของเขาและคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ การเรียนการสอนจะเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตัวเขาเอง ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ
การนำแนวคิดของนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ (Cognition) มาใช้คือ การจัดการเรียนรู้ต้องให้ผู้เรียนได้รับรู้จากประสาทสัมผัส เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ จึงเป็นแนวคิดในการเกิดการเรียนการสอนผ่านสื่อที่เรียกว่า โสตทัศนศึกษา (Audio Visual)
วุฒิชัย ประสารสอย (2545, หน้า 10-17) ได้กล่าวว่า
ทฤษฎีการเรียนเรียนรู้ทั้งสองกลุ่มมีหลักการบางประการที่คล้ายคลึงกันและสามรถนำมาประยุกย์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาการสอนได้ดังนี้
1.การพัฒนาแรงจูงใจ การเรียนรู้ที่ได้ผลนั้นต้องเริ่มจากการที่ผู้เรียนมีความต้องการและความสนใจที่จะเรียนและสิ่งที่เรียนนั้นมีความหมายและความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของผู้เรียน ครูอาจสร้างความสนใจหรือพัฒนาแรงจูงใจของผู้เรียนได้โดยใช้สื่อการสอนในการนำเสนอข้อมูล
2.การให้ความสนใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างบุคคลผู้เรียนแต่ละคนมีอัตราความเร็วในการเรียนรู้และวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน องค์ประกอบทางสติปัญญา ระดับการศึกษา บุคลิกภาพ รูปแบบการเรียนรู้ จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมและความสามารถและความสามารถในการเรียนรู้ การกำหนดอัตราความเร็วในการนำเสนอเนื้อหาในสื่อควรพิจารณาด้วยความเหมาะสมของช่วงเวลาที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดความเข้าใจด้วย
3.การให้ความสำคัญของวัตถุประสงค์ในการเรียน การให้ผู้เรียนทราบวัตถุประสงค์ในการเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเรียนรู้ได้มากกว่าการเรียนโดยที่ผู้เรียนไม่สามารถทราบวัตถุประสงค์ในการเรียน
4. การจัดเนื้อหา การเรียนรู้จะง่ายขึ้นเมื่อมีการกำหนดเนื้อหา วิธีการและกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องกระทำอย่างเหมาะสมและมีความหมายต่อผู้เรียน การจัดเนื้อหาอย่างสมเหตุสมผลจะช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาได้ดีขึ้นนอกจากนี้อัตราความเร็วที่ไม่เหมาะสมในการนำเสนอเนื้อหาอาจทำให้เกิดความยากลำบากและซับซ้อนในการเรียนรู้ได้
5. การเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน ผู้เรียนควรมีพื้นฐานความรู้ หรือประสบการณ์ที่จำเป็นในการเรียนอย่างเพียงพอ ในการเรียนรู้จากครู หรือในการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อการสอน ในการออกแบบการสอนและการวางแผนเพื่อการผลิตสื่อ จึงต้องให้ความสำคัญต่อระดับความรู้ความสามารถพื้นฐานที่ผู้เรียนควรมีด้วย
6. การคำนึงถึงอารมณ์ของผู้เรียน นอกเหนือจากความเฉลียวฉลาดแล้วอารมณ์เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ สื่อการสอนสามาถทำให้ผู้เรียนเกิดอารมณ์ต่างๆ ได้ เช่น สนุก ตื่นเต้น และวิตกกังวล เป็นต้น
7. การมีส่วนร่วม การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ เมื่อบุคคลสร้างสภาวะความเป็นเจ้าของ  หรือ ยอมรับเอาเนื้อหาการเรียนรู้นั้นมาเป็นส่วนหนึ่งของตน ดังนั้น การเรียนรู้จึงต้องอาศัยกิจกรรมเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง แทนการนิ่งฟังการบรรยายอันยาวนาน การมีส่วนร่วมหมายถึง กิจกรรมพัฒนาทักษะทางกาย และกิจกรรมพัฒนาทักษะเชิงความรู้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างการเรียนการสอน การได้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ เข้าใจ และจดจำเรื่องที่เรียนได้ดียิ่งขึ้น
8. การรู้ผลแห่งการกระทำ การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เมื่อผู้เรียนรู้ผลแห่งการกระทำของตน หรือได้รู้ความก้าวหน้าในการเรียนของตน การรู้ว่าตนประสบผลสำเร็จ หรือรู้ว่าการกระทำของตนถูกต้อง หรือการรู้จุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงจูงใจในการเรียนต่อไป
9. การเสริมแรง ความสำเร็จในการเรียนรู้ จะทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจที่เรียนต่อไป จึงอาจกล่าวได้ว่า ความสำเร็จเป็นรางวัลในการเรียนซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจ และแสดงพฤติกรรมที่ตามมาไปในทางที่พึ่งปราถนา
10. การฝึกหัดและการกระทำซ้ำ อาจกล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เรื่องใดที่จะประสบความสำเร็จได้ โดยอาศัยการสอนหรือการฝึกปฏิบัติเพียงครั้งเดียว ความรู้และทักษะที่สะสมอย่างต่อเนื่องจนเป็นความเฉลียวฉลาด หรือความสามารถของแต่ละบุคคลนั้น ย่อมเกิดจากการฝึกหัดและการกระทำซ้ำๆ ในสภาพการที่ต่างกัน
11. การประยุกต์ใช้ผลผลิตของการเรียนรู้ที่พึงปราถนา คือ การที่ผู้เรียนแต่ละคนมีความสามารถในการนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ หรือการถ่ายโยงการเรียนรู้ไปสู่สถานการณ์ใหม่ หรือมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาใหม่ๆ ความเข้าใจที่สมบูรณ์แบบจึงจะเกิดขึ้น สิ่งแรกที่ผู้เรียนจะต้องรู้ หรือค้นพบคือ กฎเกณฑ์ต่างๆ หรือข้อสรุปต่างๆ ซึ่งสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ หรือหัวข้อการเรียน ต่อจากนั้นต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตัดสินใจโดยนำกฎเกณฑ์ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ ในสถานการณ์ใหม่ หรือใช้ในการแก้ปัญหาที่แท้จริง
                การนำหลักการเรียนรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ย่อมจะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี












1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล
                จาก(2548,http://www.quickskynetwork.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=288124) ได้กล่าวไว้ว่า
ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้รับการพัฒนามาจากแนวความคิดเรื่องสิ่งเร้าและการตอบสนอง (Stimulus-Response) หรือทฤษฎี เอส-อาร์ (S-R theory) และนำมาประยุกต์ใช้ (Defleur, 1966) อธิบายว่า บุคคลมีความแตกต่างกันหลายประการ เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ สติปัญญา และความสนใจ เป็นต้น และความแตกต่างนี้ยังขึ้นอยู่กับสภาพทางสังคมและวัฒนธรรมทำให้มีพฤติกรรมการสื่อสารและการเลือกเปิดรับสารที่แตกต่างกัน
หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ที่สำคัญ คือ
1.บุคคลมีความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพและสภาพจิตวิทยา
2.ความแตกต่างกันดังกล่าวนี้เป็นเพราะบุคคลมีการเรียนรู้
3.บุคคลที่อยู่ต่างสภาพแวดล้อมกันจะได้รับการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
4.การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันทำให้บุคคลมีทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อถือ และบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้ในการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สุรพงษ์  โสธนะเสถียร( 2539, หน้า 63-64) พบว่ามีปัจจัย 2 ประการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการยอมรับการสื่อสารที่ถูกส่งมาจากผู้ส่งสาร (sender) คือ
1.ภูมิหลังหรือปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันย่อมจะมองหรือจะยอมรับประเด็นในการสื่อสารแตกต่างกันไป
2.ภูมิหลังหรือปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย
2.1. ภูมิหลังของประชากร (Demographics) เช่น อายุ เพศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น
2.2. ภูมิหลังทางจิตวิทยา (Psychographics) หรือ แบบแผนการดำเนินชีวิต (Life Style)
2.3. ภูมิหลังในการเปิดรับสื่อทั้งนี้เนื่องมาจากนิสัยการเปิดรับสื่อที่ไม่เหมือนกันของแต่บุคคล สามารถส่งผลต่อทัศนคติของบุคคล กล่าวคือทำให้บุคคลมีความชื่นชอบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่เหมือนกัน
แนวคิดเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual differences theory) ได้นำมาเป็นตัวแปรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้บนพื้นฐานความคิดที่ว่า เพศ อายุ รายได้ ที่แตกต่างทำให้การป้องกันตนเองของวัยรุ่นในการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน
นอกจากนี้กลุ่มทางสังคมเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมการสื่อสาร ซึ่งทฤษฎีการแบ่งกลุ่มทางสังคม (Social categories theory)ได้กล่าวถึงแรงผลักดันที่ทำให้บุคคลหนึ่ง ได้มีการใช้สื่อนั้น เกิดจากคุณสมบัติของบุคคลในด้านองค์ประกอบทางด้านสังคม โดยอธิบายว่าบุคคลที่มีลักษณะทางสังคม สภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกัน เช่น ครอบครัว วัฒนธรรม ประเพณี ลักษณะทางประชากร เช่น เชื้อชาติ ศาสนา อายุ เพศ การศึกษา รายได้ ฯลฯ จะมีพฤติกรรมการสื่อสารที่คล้ายคลึงกัน (พัชนี เชยจรรยาและคณะ, 2541, หน้า 213)
ในการเลือกรับหรือใช้สื่อของบุคคลเกิดจากความต้องการมีเพื่อนเพราะธรรมชาติของมนุษย์ไม่สามารถอยู่ได้เพียงลำพัง ดังนั้นบุคคลทุกคนจะแสวงหาข่าวสารให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง ทั้งในแง่ของการได้รับความรู้ ความสนุกสนาน ความบันเทิงหรือความสุขกายสบายใจ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนและทำให้ตนเองเกิดความพึงพอใจ

1.3 ทฤษฎีพัฒนาการ
ประหยัด จิราวรพงศ์ (2547, หน้า 44) ได้กล่าวว่า
ทฤษฎีพัฒนาการของเปียเจท์
                ได้อธิบายว่าการพัฒนาสติปัญญาและความคิดของผู้เรียนนั้น เกิดจากการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนควรจะต้องจัดสภาพแวดล้อม ทางการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียนด้วย
ทฤษฎีพัฒนาการของบรูนเนอร์
                ได้อธิบายว่าความพร้อมของเด็กสามารถจะปรับได้ ซึ่งสามารถจะเสนอเนื้อหาใดๆ แก่เด็กในอายุเท่าใดก็ได้แต่จะต้องรู้จัการจัดเนื้อหา และวิธีการสอนที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเหล่านั้น ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นจะต้องเข้าใจเด็ก และรู้จักกระตุ้นโดยการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก
ทฤษฎีพัฒนาการของอิริคสัน
                ได้อธิบายว่า การพัฒนาการทางบุคลิกภาพย่อมขึ้นอยู่กับการปกิสัมพันธ์ระหว่างอินทรีย์กับสภาพสังคมที่มีอิทธิพลมาเป็นลำดับขั้นของการพัฒนาและจะสืบเนื่องต่อๆไป เด็กที่มีสภาพสังคมมาดีก็จะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีด้วย ดังนั้นผู้สอนควรจะสร้างสัมพันธภาพกับผู้เรียนให้ความสนใจเพื่อแก้ปัญหาค่านิยมบางประการ
ทฤษฎีของกีเซล
                ได้อธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลจะขึ้นอยู่กับพัฒนาการซึ่งจะเป็นไปตามธรรมชาติและเมื่อถึงวัยก็สามารถกระทำพฤติกรรมต่างๆได้เอง ไม่จะเป็นต้องฝึกหรือเร่งเมื่อยังไม่พร้อม ในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนจะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน
2. ทฤษฎีการสื่อสาร
รศ.ดร.สาโรช โศภี(2546, http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=1&sub1=4&sub2=3) ได้กล่าวไว้ว่า
การสื่อสาร (communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบดังนี้








ผู้ส่งสารคือผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูล สารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อ ถ้าหากเป็นการสื่อสารทางเดียวผู้ส่งจะทำหน้าที่ส่งเพียงประการเดียวแต่ถ้าเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ผู้ส่งสารจะเป็นผู้รับในบางครั้งด้วย ผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่จะส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผู้รับก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
ข่าวสารในการะบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ เนื้อหาสารของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น
สื่อหรือช่องทางในการรับสารคือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเช่น สิ่งพิมพ์ กราฟิก สื่ออิเลกทรอนิกส์
ผู้รับสารคือผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพ ผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้ มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร ต่อผู้ส่งสารและต่อตนเอง






ตัวอย่างแบบจำลองทางการสื่อสาร
















ปี 1954 Wilber schramm และ C.E. Osgood ได้สร้าง Model รูปแบบจำลองเชิงวงกลมการสื่อสาร เป็นรูปแบบของการสื่อสารสองทาง (Two-way Communication)
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/module/1/images/4_3.gif




























ตามแบบจำลองของแชนนันและวีเวอร์(Shannon and Weaver) จะมองถึงองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารเช่นเดียวกับเบอร์โลแล้ว ยังให้ความสำคัญกับ "สิ่งรบกวน" (Noise) ด้วยเพราะในการสื่อสารหากมีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นก็จะหมายถึงการเป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร เช่น หากอาจารย์ใช้ภาพเป็นสื่อปี 1960 แบบจำลอง SMCRของเบอร์โล(Berlo)ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งต่าง ๆ คือ
1.ผู้ส่งสาร (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถเข้ารหัส(Encode) เนื้อหาข่าวสารได้มีความรู้อย่างดีในข้อมูลที่จะส่งสามารถปรับระดับให้เหมาะสมสอดคล้องกับผู้รับ
2. ข่าวสาร (Message) คือเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่ง
3. ช่องทางการสื่อสาร(Channel) ให้ผู้รับได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
4. ผู้รับสาร (Receiver) ผู้ที่มีควาสามารถในการถอดรหัส ( Decode) สารที่รับมาได้อย่างถูกต้อง แบบจำลอง SMCR ของเบอร์โล จะให้ความสำคัญในปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จได้แก่ ทักษะในการสื่อสาร ทัศนคติ ระดับความรู้ ระบบสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งผู้รับละผู้ส่งต้องมีตรงกันเสมอ



 












3. ทฤษฎีระบบ
ทฤษฎีระบบ (Systems theory) จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
พัสตรา     สุขคง ได้กล่าวว่า 
ระบบ หมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งประกอบกันขึ้นมาเป็นหนึ่งเดียว มีความสัมพันธ์กันในทางหนึ่งทางใดรวมกลุ่มอยู่ด้วยกัน กระทำการเพื่อความสำเร็จตามที่ต้องการ และการเคลื่อนไหวในส่วนหนึ่งจะมีปฏิกิริยากระทบต่อส่วนอื่น ๆ ด้วย ส่วนประกอบแต่ละส่วนก็เป็นระบบย่อยในตัวของมันเอง โดยส่วนประกอบย่อย ๆ หลายส่วนรวมกันอยู่เช่นกัน เช่น องค์การเป็นระบบซึ่งประกอบไปด้วยฝ่ายการผลิต ฝ่ายการตลาด และฝ่ายการเงิน ฯลฯ ในขณะเดียวกัน ที่ฝ่ายต่าง ๆ ก็เป็นระบบซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีกคือ ประกอบไปด้วยงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงใดที่เกิดขึ้นในส่วนหนึ่งของระบบย่อยมีผลกระทบต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ หรืออาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบคือกลุ่มของส่วนที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
จากการพิจารณากิจกรรมในรูปของระบบจึงหมายความว่า กิจกรรมหนึ่ง ๆ อาจเป็นผลมาจาก  กิจกรรมย่อย ๆ หลาย ๆ กิจกรรมรวมกันก็ได้ ซึ่งในระหว่างกิจกรรมเหล่านั้น การกระทำส่วนหนึ่งของ กิจกรรมหนึ่ง ก่อให้เกิดปฏิกิริยาขึ้นส่วนอื่น ๆ หรือกิจกรรมอื่น ๆ ระบบที่เน้นความสนใจเฉพาะภายในระบบคือ ระบบปิด และระบบที่ขยายความสนใจไปถึงระบบภายนอกที่ใหญ่กว่าก็คือ ระบบเปิด ระบบเปิดนี้ถือว่า องค์การเป็นระบบย่อยของระบบที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกอีกทีหนึ่ง วิธีการเชิงระบบเห็นว่า ระบบการบริหาร ซึ่งหมายถึง การจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น มีลักษณะเป็นระบบที่คล้ายกับระบบทางกายภาพและทางชีววิทยา และเห็นว่าในระบบบริหารนั้นประกอบด้วยระบบใหญ่และระบบย่อย ระบบเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดตัวแปร ตัวคงที่ ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างกันและการติดต่อสื่อสาร และต้องมีปัจจัยนำเข้า (input) กับปัจจัยนำออก (output) ไว้
คุณลักษณะของระบบ   ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
- ส่วนต่าง ๆ ของระบบจะอยู่ในสถานะที่เคลื่อนไหวได้ โดยเหตุที่สิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น แต่ละสิ่งต่างก็มีคุณสมบัติและกำลังความสามารถของมัน
- การเคลื่อนไหวหรือแสดงออกของส่วนต่าง ๆ จะมีปฏิกิริยากระทบต่อกันเสมอ เมื่อสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีลักษณะรวมตัวอยู่ด้วยกัน การเคลื่อนไหวหรือการแสดงออกของแต่ละส่วน จึงย่อมก่อให้เกิดปฏิกิริยากระทบและตอบโต้ซึ่งกันและกัน
- ในระบบหนึ่ง ๆ จะประกอบด้วยระบบย่อยต่าง ๆ (subsystems) และภายในระบบย่อยก็อาจประกอบด้วยระบบย่อยลงไปอีกได้
-  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ณ ส่วนใดส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ ย่อมทำให้มีผลกระทบที่        ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ (chain of effects) และจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงส่วนอื่นของระบบด้วยความสมดุลจึงเกิดขึ้นได้ หรือในทำนองเดียวกันอาจกล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยอันใดอันหนึ่ง ย่อมสามารถทำให้กระทบกระเทือนถึงระบบที่ใหญ่กว่าได้ด้วยเช่นกัน

4. ทฤษฎีการเผยแพร่
กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
การเผยแพร่ (Diffusion) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชนเป้าหมาย ฉะนั้นการเผยแพร่จึงเป็นกระบวนการซึ่งนวัตกรรม(Innovation) จะถูกนำไปถ่ายทอดผ่านช่องทางการสื่อสาร (communication channels) ในช่วงเวลาหนึ่ง(Time) กับสมาชิกที่อยู่ในระบบสังคมหนึ่ง(Social System) ให้เกิดการยอมรับ(Adoption)  ดังรูป ต่อไปนี้




 






การศึกษาถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการคือ
1.             ต้องการทราบว่าผลผลิตของเทคโนโลยีการศึกษาเป็นที่ยอมรับหรือไม่
                เนื่องจากการปฏิบัติจริงนั้นไม่เหมือนกัน
2.             นักเทคโนโลยีการศึกษาสามารถจัดเตรียมในการเผยแพร่งานเทคโนโลยีการศึกษาให้กับกลุ่มผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.             นำไปสู่การเผยแพร่นวัตกรรมอย่างเป็นระบบ สร้างรูปแบบการเผยแพร่และรูปแบบการยอมรับนวัตกรรมขึ้น
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอนเทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่าจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
การจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตามลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จรูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน

























บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา
บทบาท ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ออนไลน์) หมายถึง การทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้
ดังนั้น บทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา จึงหมายถึง การทำตามหน้าที่ของนักเทคโนโลยีการศึกษา
นักเทคโนโลยีการศึกษา มีความสำคัญต่อการศึกษาในฐานะเป็นผู้นำหลักการความรู้ วิธีการ ในด้านการออกแบบ พัฒนา การใช้ การจัดการและการประเมินเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางด้านการศึกษาและทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  จากบทความเรื่อง การเปลี่ยนแปลงจากยุคสู่ยุคของนักเทคโนโลยีการศึกษา โดยวรัท  พฤกษากุลนันท์ กล่าวถึงบทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา ไว้ดังนี้           (วรัท  พฤกษากุลนันท์, 2550)
1.             นักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะผู้ผลิต
บทบาทนี้จะเน้นไปที่ อาจารย์ คณาจารย์ ที่อยู่ในสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีหน้าที่ในการเผยแพร่วิชาความรู้และผลิตนักเทคโนโลยีการศึกษาในระดับต่างๆ ออกสู่สังคม รวมถึงการกำหนดมาตรฐานหลักสูตรและคุณลักษณะของนักเทคโนโลยีการศึกษาที่พึงประสงค์ รวมทั้งเป็นแหล่งความรู้และการเผยแพร่ในด้านวิชาการ การวิจัย และนวัตกรรมต่างๆ
2.             นักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะผู้ปฏิบัติ
บทบาทนี้จะเน้นไปที่ นักเทคโนโลยีการศึกษาหรือเจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษาที่อยู่ในโรงเรียน สถานศึกษา สถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานทางการศึกษาต่างๆ ซึ่งจะมีหน้าที่หลักในการใช้ พัฒนา ออกแบบ บริหาร บริการ และดูแลรักษา วัสดุอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน รวมทั้งการออกแบบและพัฒนาระบบการสอน ฯลฯ ซึ่งรวมถึงบุคลากรที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและบริการในศูนย์สื่อเทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดการศึกษา
3.             นักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะผู้กำหนดทิศทาง
บทบาทนี้จะเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนและกำหนดทิศทางในการพัฒนาวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาในภาพรวม ซึ่งประกอบด้วยบุคคลหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณาจารย์ ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีการศึกษา หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและทิศทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา เช่น สมาคมเทคโนโลยีการศึกษาแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีการศึกษาแห่งชาติ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการผลักดันงานในภาพรวมและสามารถยกระดับมาตรฐานวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับของสังคมได้
นอกจากนี้วรัท  พฤกษากุลนันท์ ยังกล่าวถึงบทบาทที่จำเป็นของนักเทคโนโลยีการศึกษาในยุคปัจจุบัน ดังนี้
1.             บทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษาที่เป็นผู้มีภูมิรู้ในศาสตร์
นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องเป็นผู้มีความรู้ในศาสตร์ของเทคโนโลยีการศึกษาอย่างถ่องแท้  ไม่ว่ากระแสของการเปลี่ยนแปลงจะเป็นอย่างไร หลักการและแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษายังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสามารถนำมาใช้ได้ในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบและพัฒนาระบบการสอน (Instructional System Design: ISD) นักเทคโนโลยีจะต้องเป็นนักออกแบบการเรียนการสอน (Instruction designer) มากกว่าช่างเทคนิค รวมถึงเน้นกระบวนการวิเคราะห์และความคิดในเชิงระบบทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาให้มากขึ้น และเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาบุคลิกภาพในการเป็นผู้นำ การสร้างความภูมิใจในวิชาชีพของตนเอง การแสวงหาความรู้ใหม่ๆ การวิจัยที่หลากหลายโดยไม่เน้นไปที่การพัฒนาและสร้างสื่อเพียงอย่างเดียว เนื่องจากนักเทคโนโลยีการศึกษามีบทบาทสำคัญในการบูรณาการเทคโนโลยีกับกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
2.             บทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยี
นักเทคโนโลยีการศึกษา ไม่ใช่เป็นผู้ที่ตามกระแสเทคโนโลยี แต่จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทให้เกิดการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเท่าทันและเหมาะสม ซึ่งจะเห็นได้จากเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และสื่อต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสเทคโนโลยี ที่ง่ายต่อการซื้อหา ง่ายต่อการใช้ ราคาถูกและแพร่หลายในวงกว้าง ดังนั้นการเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักเทคโนโลยีการศึกษา โดยจะต้องเรียนรู้และปรับใช้เทคโนโลยีใน 3 ลักษณะ คือ
1) การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี (Learning about Technology) ได้แก่ การเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จำเป็น เช่น ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เรียนรู้จนสามารถใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ ทำระบบข้อมูลสารสนเทศเป็น สื่อสารข้อมูลทางไกลผ่าน Email และ Internet ได้ เป็นต้น
2) การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี (Learning by Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ และฝึกความสามารถ ทักษะบางประการโดยใช้สื่อเทคโนโลยี เช่น ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web Based Instruction) การค้นคว้าเรื่องที่สนใจผ่าน Internet เป็นต้น
3) การเรียนรู้กับเทคโนโลยี (Learning with Technology) ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยระบบการสื่อสาร 2 ทาง (interactive) กับเทคโนโลยี เช่น การฝึกทักษะภาษากับโปรแกรมที่ให้ข้อมูลย้อนกลับถึงความถูกต้อง (Feedback) การฝึกการแก้ปัญหากับสถานการณ์จำลอง (Simulation) เป็นต้น
นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนบทบาทในการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และสามารถปรับใช้เทคโนโลยีนั้นๆ ให้เหมาะสม และต้องไม่จำกัดเฉพาะโรงเรียนหรือสถานศึกษาเท่านั้น แต่ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษานอกระบบโรงเรียนและการศึกษาตามอัธยาศัยด้วย ดังนั้นบทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงไม่เพียงแต่เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างโอกาสให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต รวมทั้งการวิจัย การพัฒนาอาชีพ การบริหารจัดการ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การบริการอย่างทั่วถึงเท่าเทียม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
3. บทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะผู้ปรับใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมของเทคโนโลยี เช่นในเมืองที่เจริญเทคโนโลยีจะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอกับความต้องการ แต่ในท้องถิ่นที่ห่างไกลความเจริญ จะขาดแคลนเทคโนโลยี ซึ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการใช้เทคโนโลยีการศึกษา ดังนั้นนักเทคโนโลยี การศึกษาในฐานะผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ในการปรับใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ จึงต้องมีบทบาทในการนำเทคโนโลยีมาใช้เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้ใน 3 ระดับคือ
1) เทคโนโลยีชาวบ้านหรือเทคโนโลยีชุมชน เทคโนโลยีการศึกษา เป็นการนำเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ สื่อประเภทต่างๆ รวมทั้ง เทคนิค วิธีการ แนวคิด มาใช้เพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางการศึกษาหรือช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนหรือ ท้องถิ่น ก็สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้ เช่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม  แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน นักเทคโนโลยีการศึกษาสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2) เทคโนโลยีที่มีอยู่ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา เช่น แผ่นใส สไลด์ วีดิโอ วีดิทัศน์ กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์ ฯลฯ นักเทคโนโลยีการศึกษามีหน้าที่ในการผลิตสื่อ การจัดระบบงานสื่อ การนำไปใช้และการฝึกอบรมครูผู้สอนให้รู้จักการใช้นำสื่อนั้นๆ
3) เทคโนโลยีที่ทันสมัย นักเทคโนโลยีการศึกษา จะต้องรู้จัก ติดตามและศึกษาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมต่างๆ ที่กำลังได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต, E-Learning, WBI, Visual Classroom ฯลฯ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้นำมาปรับใช้ได้ทันที เมื่อโรงเรียนมีความพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น
4. บทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะสถาบันวิชาชีพ
ปัจจุบันมีนักเทคโนโลยีการศึกษาที่ประกอบอาชีพตามหน่วยงานและองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก จึงต้องส่งเสริมให้วิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาได้รับการยอมรับและยกระดับให้ทัดเทียมกับสาขาอื่นๆ หน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา จะต้องเข้มแข็งและมีกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอยู่เสมอและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านวิชาการ มีการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาและผลักดันวิชาชีพให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและพัฒนาการศึกษาในระดับประเทศ
5. บทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะสหวิทยาการ
เทคโนโลยีการศึกษาในฐานะที่เป็นสหวิทยาการ ( Interdiscipline) ที่ต้องอาศัยความรู้จากวิทยาการแขนงอื่นหลายด้าน ดังนั้นเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการใช้ความรู้ความเข้าใจ มโนทัศน์ ทฤษฎี การดำเนินงานและเครื่องมือจากวิทยาการและสาขาวิชาอื่นๆ เพื่อให้งานด้านการวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมิน การสนับสนุนและการใช้ในการพัฒนาระบบการเรียนการสอนประสบผลสำเร็จโดยการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดเป็นศาสตร์ใหม่ที่มีความทันสมัยและปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว นักเทคโนโลยีการศึกษาควรมีความรู้ที่หลากหลายไม่จำกัดเฉพาะศาสตร์ของตัวเอง เช่น การบริหารจัดการ การตลาด การประชาสัมพันธ์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การสื่อสารมวลชน การฝึกอบรม การวิจัยและประเมินผล จิตวิทยา ฯลฯ

6. บทบาทนักเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันสาขาเทคโนโลยีการศึกษาได้ถูกลดบทบาทและความสำคัญลง เนื่องจากมีศาสตร์ใหม่ๆ ที่สามารถเข้ามาแทนที่ นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( Change Agent) ที่เข้มแข็งและพร้อมจะประสานเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปเทคโนโลยีการศึกษาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้เกิดการยอมรับอย่างกว้างขวาง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องมีคุณลักษณะดังนี้
1. มีวิสัยทัศน์ (Vision) ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล มีความคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาระบบหรือกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
2. เข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (A good understanding of why change is necessary) ผู้นำต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความคิดอยากจะเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะโดนบังคับให้เปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องสามารถวิเคราะห์สถานการณ์และสถานะของวิชาชีพได้อย่างชัดเจนและลึกซึ้ง จึงจะสามารถเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงได้
3. สามารถทำงานกับคนหลากหลายรูปแบบ (An ability to work with a wide range of people) การทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ดังนั้นผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการประสานงานได้ในทุกระดับ ต้องมีทักษะในการนำเสนอ มีทักษะในการติดต่อสื่อสารที่ดีพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น และต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงตนเองและหน่วยงาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. มองโลกในแง่ดี และมีคุณธรรมและจริยธรรม  ผู้นำที่ดีจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม และเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดี สามารถร่วมงานกับผู้อื่นได้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้กำหนดความสำคัญเรื่องเทคโนโลยีการศึกษาไว้ 7 มาตรา นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องมีบทบาท ดังนี้
1.             เป็นผู้ออกแบบ พัฒนา และถ่ายทอดความรู้ด้านสื่อทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ เพื่อการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
2.             เป็นผู้ออกแบบ ผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการและสื่อสิ่งพิมพ์
3.             เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ ผลิต ใช้สื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและเป็นผู้ที่ยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆ
4.             พัฒนาตนเองอยู่เสมอทั้งด้านการผลิต และการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
5.             เป็นผู้ออกแบบสื่อและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มพูนทักษะและความรู้ที่เพียงพอให้แก่ผู้เรียน
6.             เป็นนักวิจัยและพัฒนาเพื่อศึกษาการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีและติดตามผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้สื่อที่คุ้มค้ากับการเรียนรู้
7.             เป็นผู้วิเคราะห์ปัญหาการศึกษา การใช้ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา สามารถเสนอนโยบาย แผนงานส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนา การใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
ดังนั้น จึงสรุปบทบาทของนักเทคโนโลยีการศึกษา ตามขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ได้ 5 บทบาท คือ
1. บทบาทในฐานะผู้ออกแบบ คือ ออกแบบระบบการสอน ออกแบบสาร ออกแบบกลยุทธ์ในการสอนเพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียน นักเทคโนโลยีต้องวิเคราะห์ได้ว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไร ด้วยสื่อประเภทไหน
2. บทบาทในฐานะผู้พัฒนา  ต้องเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์  เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีบูรณาการ
3. บทบาทในฐานะผู้นำการใช้ นักเทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นผู้นำในการใช้กระบวนการและแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน เช่น การใช้เทคโนโลยี  การแพร่กระจายนวัตกรรม
4. บทบาทในฐานะผู้บริหารจัดการ  นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องเป็นผู้วางแผน จัดการ ประสานงานและให้คำแนะนำด้านเทคโนโลยีการศึกษาแก่ผู้รับบริการ ทั้งผู้สอน ผู้เรียน และผู้บริหาร
5. บทบาทในฐานะผู้ประเมิน นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องประเมินผลการใช้เทคโนโลยีการศึกษาว่ามีข้อดี ข้อเสีย หรือจุดที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร สามารถวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
สมรรถภาพของนักเทคโนโลยีการศึกษา
สมรรถภาพ ตามความหมายของพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ออนไลน์) หมายถึง ความสามารถ 
ดังนั้น สมรรถภาพของนักเทคโนโลยีการศึกษา จึงหมายถึง ความสามารถในการนำความรู้ ทักษะ เชาว์ปัญญาและทัศนคติ ด้านเทคโนโลยีการศึกษา ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่รับผิดชอบ
นักเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องมีทักษะและความสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้ (Robert D. Tennyson, 2008)
1.             มีทักษะด้านเทคนิควิธีการ
2.             มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในระดับปฏิบัติการได้
3.             เข้าใจในความสามารถและข้อจำกัดของเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์เครื่องมือพื้นฐาน
4.             สามารถประเมินได้ว่าอุปกรณ์ใดใช้เพื่อการเรียนรู้ได้
5.             สามารถใช้อุปกรณ์และเทคนิคต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
6.             สามารถวิเคราะห์เทคนิคที่จะใช้กับผู้เรียนได้
7.             สามารถเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้
8.             มีความรู้ในการเลือกใช้สื่อต่างๆ ตามความแตกต่างของพฤติกรรมผู้สอนและผู้เรียน
9.             มีความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ให้ทันสมัย
10.      เคารพในลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น
สมรรถภาพของนักเทคโนโลยีการศึกษาในยุคสารสนเทศ
        นักเทคโนเทคโนโลยีทางการศึกษาในยุคสารสนเทศควรมีสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ดังนี้ (เอกวิทย์  แก้วประดิษฐ์, 2545 อ้างถึง ประหยัด  จิระวรพงศ์, 2542: 1-5)
1. ด้านการบริหาร ได้แก่ บริหารองค์กร สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างมีระบบ มีความรู้เรื่องเครื่องมือสมัยใหม่และการบำรุงรักษาและมีความกระตือรือร้น ตลอดจนเปิดใจให้กว้างสำหรับสิ่งใหม่ ๆ ส่วนด้านบริหารบุคคลควรจัดอบรมภายในองค์กรให้บุคลากรมีความรู้  มีทัศนคติที่ดีในการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบุคลิกภาพดึงดูดความสนใจของเพื่อนร่วมงาน ศึกษาแหล่งผลิตบุคลากรและคัดเลือกบุคลากรที่จะเข้ามาปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับด้านบริหารโครงการ สามารถวางแผนโครงการ ดำเนินการประเมินผล รวมทั้งสามารถเลือกกิจกรรมและสื่อที่เหมาะสมในแต่ละโครงการและมีความเป็นผู้นำในการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ
2. ด้านการออกแบบ ได้แก่ ด้านการออกแบบสื่อการสอน มีมโนทัศน์ต่อเนื้อหาสาระเพื่อการนำเสนอเป็นสื่อโดยมีความรู้ทางด้านจิตวิทยา หลักสูตรและเรื่องระบบเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบสื่อการสอน ด้านการออกแบบระบบการสอน มีความสามารถในการประสมประสานเทคนิคทางด้านสื่อ วิธีการทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาสามารถวิเคราะห์คัดเลือกเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการออกแบบการสอน ตลอดจนให้คำแนะนำผู้สอนและด้านการออกแบบโครงการ สามารถออกแบบโครงการที่แปลกใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานโดยให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและเป็นที่ยอมรับของหน่วยงานตลอดจนกำหนดหลักสูตรของโครงการได้
3. ด้านการผลิต ได้แก่ ด้านสื่อทั่วไป มีความเข้าใจพื้นฐานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในลักษณะการประยุกต์ใช้และสามารถร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านได้ ด้านคอมพิวเตอร์เข้าใจคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ ด้านโทรศัพท์สามารถกำหนดให้โทรศัพท์อยู่ในระบบการผลิตสื่อการสอนหรือการจัดการศึกษา ด้านวิทยุโทรทัศน์สามารถผลิตรายการวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษาได้ ด้านวีดิโอเท็กซ์และอุปกรณ์อื่น ๆ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสารหรือการศึกษาทางไกลตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้งานร่วมกันได้
4. ด้านการบริการ  ได้แก่ ด้านการจัดเตรียมสื่อต้องมีระบบในการจัดเตรียมสื่อเพื่อให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว ด้านจัดระบบสื่อ พัฒนาการจัดระบบสื่อวางระเบียบข้อปฏิบัติในการให้บริการและใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูล ด้านการบำรุงซ่อมแซมจัดบุคลากรที่มีความสามารถในการบำรุงซ่อมแซมอุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ ด้านการใช้สื่อ สามารถวิเคราะห์เลือกสื่อจัดระบบการใช้และสรรหาวิธีการนำเสนอที่น่าสนใจ ด้านการจัดทำสื่อติดตามความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับสื่อการสอนจากแหล่งผลิต ตลอดจนหาสื่อจากหน่วยงานอื่น ๆ ด้านการจัดเก็บสื่อที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดของสื่อเพื่อการบริการที่รวดเร็ว ด้านการให้ความรู้เรื่องสื่อมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา การสื่อสารและมีประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูล และด้านการประเมินสามารถออกแบบวิธีการประเมินสื่อและการใช้สื่อโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประหยัดงบประมาณและบุคลากร
5. ด้านการวิจัย พบว่าสิ่งที่นำมาใช้ในงานด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา ได้แก่ ดาวเทียม โทรศัพท์ และโทรคมนาคมอื่น ๆ ตลอดจนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรายงานผลการวิจัยเพื่อเผยแพร่ออกไปได้อย่างกว้างขวาง นักเทคโนโลยีทางการศึกษาต้องทำการวิจัยให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น สรุปได้ว่า นักเทคโนโลยีการศึกษา ควรจะมีสมรรถภาพใน 5 ด้าน ดังนี้
1. มีความสามารถในการออกแบบ สามารถออกแบบระบบการสอน  สื่อการเรียนการสอน สามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้เรียนควรจะเรียนเนื้อหาอะไร โดยใช้สื่อประเภทไหน
2. มีความสามารถในการพัฒนา นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องมีความรู้ ความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านต่างๆ ทั้งสิ่งพิมพ์ โสตทัศนูปกรณ์ คอมพิวเตอร์และการบูรณาการสื่อ
3. มีความสามารถในการนำไปใช้  คือ มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีการศึกษาประเภทต่างๆสามารถใช้สื่อการสอนได้เหมาะสมกับผู้เรียน และสามารถเผยแพร่นวัตกรรมใหม่ๆ ให้เป็นที่ยอมรับได้
4. มีความสามารถในการจัดการ  คือสามารถวางแผนการใช้เทคโนโลยีการศึกษา สามารถจัดการ ประสานงานและให้คำแนะนำแก่ผู้ใช้บริการได้
5. มีความสามารถในการประเมิน คือ สามารถวิเคราะห์ปัญหาและประเมินคุณภาพของเทคโนโลยีการศึกษาได้ ตลอดจนมีความสามารถในการทำวิจัยเพื่อนำข้อมูลไปปรับปรุงเทคโนโลยีการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น






แผนภูมิโครงสร้างเทคโนโลยีการศึกษา
01



















แผนภูมิโครงสร้างเทคโนโลยีการศึกษา

                เป็นแผนภูมิที่แสดงถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดกิจกรรมด้านการศึกษาอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอนว่ามีความเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันอย่างไร โดยบูรณาการระหว่าง บุคคล วิธีการ แนวคิด  เครื่องมือ  การจัดระบบองค์กรสำหรับวิเคราะห์ปัญหา  หาวิธีแก้ปัญหา  ดำเนินการ ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาเหล่านั้น  ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับทุกลักษณะของการเรียนรู้
ประกอบด้วย:

1.              เทคโนโลยีการศึกษา  ( Educational  Technology )    
                ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ก็คือ ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
                รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง  กุมุท  กล่าวว่า  เทคโนโลยีการศึกษา คือ กระบวนการที่ซับซ้อนและประสานสัมพันธ์อย่างมี บูรณาการระหว่างบุคคล  วิธีการ  แนวคิด  เครื่องมือ  และการจัดการระบบองค์การ สำหรับวิเคราะห์ปัญหา  หาวิธีการแก้ปัญหา  ดำเนินการ  ประเมินผล และจัดการแก้ปัญหาเหล่านั้น  ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับทุกลักษณะของการเรียนรู้
                ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป  หมายถึง  การระดมสรรพความรู้ที่มีเหตุผล  (พิสูจน์ได้)  มาประยุกต์ให้เป็นระบบที่ดี สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริง เพื่อแก้ไขปัญหาให้บรรลุจุดมุ่งหมาย (เป้าประสงค์) ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยการใช้ทรัพยากร อย่าประหยัด
                2.  จุดมุ่งหมายการเรียนการสอน  เป็นจุดมุ่งหมายที่แยกย่อยมาจากจุดมุ่งหมายเฉพาะรายวิชา  มีลักษณะเฉพาะเจาะจงในขอบเขตเนื้อหาเฉพาะอย่าง ผู้เรียนสามารถบรรลุผลได้ในช่วงเวลาอันสั้น  เช่น ภายใน 1 คาบ หรือ 1 บทเรียน จะเป็นจุดมุ่งหมายที่แสดงพฤติกรรมปลายทางของผู้เรียนเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนลง แล้วผู้เรียนต้องทำสิ่งใดได้บ้าง หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะอย่างไร เช่น
           - อธิบายสาเหตุและอาการของโรคต่างๆที่พบมากในท้องถิ่นได้
           - บอกวิธีป้องกันโรคที่พบในท้องถิ่นและปฏิบัติตามได้
           - สามารถอ่านเครื่องหมายต่างๆที่ใช้ในแผนที่ได้
           - สามารถนำเศษวัสดุมาประดิษฐ์เป็นของใช้อย่างง่ายๆได้
                             ฯลฯ
                ในจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน ก็จะกล่าวถึงทฤษฎีระบบ  การเมือง  ปรัชญา  สังคมวิทยา  ซึ่งมีเนื้อหารายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
                ทฤษฎีระบบ 
                ระบบ  คือ  หน่วยสมบูรณ์ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เป็นอิสระแต่มีความสัมพันธ์และ         
มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน  โดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
                องค์ประกอบของระบบ  มี 4 องค์ประกอบ  ได้แก่
                                1.  ปัจจัยนำเข้า  (input)
                                2.  กระบวนการ  (process)
                                3.  ผลลัพธ์  (output)
                                4.  ผลย้อนกลับ  (feedback)
                การวิเคราะห์ระบบ  (System  analysis)  เป็นวิธีการระบุส่วนประกอบ  องค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบการจัดเรียงองค์ประกอบทรัพยากรที่ต้องใช้กลุ่มเป้าหมาย  ภารกิจ  ผลิตผล  ของระบบว่าควรเป็นอย่างไร
                เป็นการวางแผนระบบใหม่หรือพัฒนาระบบให้ดีขึ้น หลังการวิเคราะห์ระบบแล้วโดยกำหนดขั้นตอนที่เหมาะสม  จัดวางปรัชญา  ปณิธาน  จุดมุ่งหมาย  องค์ประกอบ  ภารกิจ  ปฏิสัมพันธ์  ปัจจัยเกื้อหนุน และการประเมินเพื่อประสิทธิภาพของงาน
                ความหมายของปรัชญา
                1.  ความเชื่อของบุคคลที่ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ  (เชื่ออย่างไรปฏิบัติอย่างนั้น)
                2.  เป็นการศึกษาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับปัญหาของชีวิต  เพื่อค้นหาวิธีที่ดีที่สุดที่จะแก้ปัญหา
                3.  ความพยายามที่จะคิดให้เป็นระเบียบมากที่สุด  เกี่ยวกับจักรวาล  และความเป็นจริงทั้งหมด  (เช่น อะไรคือธรรมชาติของ..........)
                4. ศาสตร์ที่ว่าด้วยความรู้และวิจารณ์ความรู้
                สังคมวิทยา   คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฎเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน  สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก
                3.  การเลือกวิธีการสอน  สื่อ  และสภาพแวดล้อม  วิธีการสอน  หมายถึง  วิธีการสอนต่าง ๆ       ที่นำมาใช้เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบบรรลุจุดมุ่งหมาย  โดยทั่วไปได้จัดแบ่งวิธีการสอนออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และวิธีการสอนที่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลาง  ซึ่งแสดงวิธีสอนในแต่ละกลุ่ม
                ในการเลือกวิธีการสอน ผู้สอนจะต้องพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสอน  ดังภาพ

สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกวิธีการสอน
 

เงื่อนไข  ข้อจำกัด
-                    เวลา
-                    สถานที่
-                    อุปกรณ์
       ฯลฯ
 
วงรี: วิธีสอน
 







               
หลักในการเลือกสื่อการสอน  สามารถเลือกสื่อการเรียนการสอนได้ดังนี้
1.             เลือกสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้
2.              เลือกสื่อการสอนที่ตรงกับลักษณะของเนื้อหาของบทเรียน
3.             เลือกสื่อการสอนให้เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
4.             เลือกสื่อการสอนให้เหมาะกับจำนวนของผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน
5.             เลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม
6.             เลือกสื่อการสอนที่มีลักษณะน่าสนใจและดึงดูดความสนใจ
7.             เลือกสื่อการสอนที่มีวิธีการใช้งาน  เก็บรักษาและบำรุงรักษา ได้สะดวก
                สภาพแวดล้อมในการเรียน  คือ  บริเวณหรือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อเป็นสถานที่การเรียนรู้  เช่น  ความเชื่อที่ว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน  ตามเหตุผล 2 ประการด้วยกันคือ
                1.  ห้องเรียนที่มีความแตกต่างกัน แต่ละห้องเรียนจะแตกต่างกันไปตามเรื่องขนาด  รูปแบบการจัดแสงสว่าง และที่นั่งท่ามกลางสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในห้องเรียน
                2.  การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายนอกเหนือจากห้องเรียน  ห้องปฏิบัติการ  โรงฝึกพลศึกษา  สนามเด็กเล่น  หรือการศึกษานอกสถานที่  ในสภาพที่เป็นจริง การเรียนรู้จะเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมเสมอ
                การสอนควรสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ใช้สอนเสมอ  ถ้าไม่เช่นนั้น  การสอนอาจเป็นเพียงทฤษฎีที่สมเหตุสมผลแต่ไม่สามารถปฏิบัติได้  นั่นคือ  การวางแผนการสอนอาจเป็นการประสานระหว่างหลักการทางการศึกษาและวิธีสอนที่ดูเหมือนว่ามีความสมบูรณ์ แต่ไม่สามารถใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ได้การบูรณาการเทคโนโลยี  การใช้โปรแกรมพิมพ์เอกสารในการเตรียมการวางแผน  แผนที่ความคิด  คือ เทคนิคการจัดภาพของความคิด
                ในเรื่องของการเลือกวิธีการสอน  สื่อ  และสภาพแวดล้อม นี้  ได้มีการเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของ  จิตวิทยาพุทธิพิสัย  ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
                จิตวิทยาพุทธิพิสัย (Cognitive Learning) เป็นจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างทางปัญญาเพื่อรับความรู้ ข้อมูลและข่าวสาร ซึ่งเรียงลำดับตั้งแต่การจำสิ่งง่ายๆ การคิดคำนึงไปจนถึงการสร้างความสัมพันธ์กับความรู้ใหม่
                การเรียนรู้จิตวิทยาพุทธิพิสัย เริ่มจากสิ่งที่ง่ายไปยัง สิ่งที่ยาก ดังนี้
          1. ความรู้ (Knowledge) ได้แก่ การระลึกได้ การจดจำคำนิยาม การสังเกตและการคิดทบทวน
          2. ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก่ การแปลความหมาย การตีความการเรียบเรียง การสรุป การพยากรณ์จากข้อมูลที่มีอยู่
          3. การนำไปใช้ (Application) ได้แก่ การใช้ความคิดและความรู้ต่างๆ
          4. การสร้างสรรค์ (Creation) ได้แก่ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และการประเมินข้อมูลที่ได้รับมา จนเกิดความคิดสร้างสรรค์
                4.  วิธีการเรียน
                •  การศึกษาแผนการเรียนนักศึกษาต้องศึกษารายละเอียดของแผนการเรียนประจำ           หน่วยการเรียน ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างเนื้อหาสาระ วัตถุประสงค์ และแนวคิด
                •  การศึกษาเนื้อหาสาระและการทำกิจกรรมประกอบการเรียนในการศึกษานักศึกษา               จะศึกษารายละเอียดเนื้อหาวิชาจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ รวมทั้งศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อเสริม เพื่อให้การศึกษาผ่านสื่อมีประสิทธิภาพ นักศึกษาต้องทำกิจกรรมประกอบการเรียน ทุกกิจกรรมและพยายามทำด้วยตนเอง
                ในเรื่องของ วิธีการเรียน นี้  ได้มีการเชื่อมโยงไปยังเรื่อง รูปแบบการเรียน  และคอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียน  โดยมีเนื้อหา ดังนี้
                รูปแบบการเรียน   เป็นสถานการณ์ทางการศึกษาที่ผู้เรียนแต่ละคนชอบมากที่สุด และเป็นการอธิบายถึงสภาพการณ์โดยรวมที่ผู้เรียนแต่ละคนต้องการ รูปแบบการเรียนเป็นคุณลักษณะที่สามารถค้นหาได้ และจากการค้นหารูปแบบการเรียนของผู้เรียนจะเป็นแนวทางไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพของผู้สอน การที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนที่แตกต่างกันของผู้เรียน จะช่วยเสนอแนะแก่อาจารย์ผู้สอนที่จะใช้เทคนิควิธีการในการเรียนการสอนที่เหมาะสม
                คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียน
                คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนทุกแนวคิดมุ่งที่จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในฐานะสื่อระบบการเรียนการสอนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตของระบบการเรียนการสอนให้มีคุณภาพสูงสุด โดยใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด เจมส์ เอส สกินเนอร์ (Jame S. skinner) นักจิตวิทยาการศึกษาได้กล่าวว่าระบบการเรียนการสอนที่ดีจะต้องสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ 5 ประการ คือ
                1. ระบบการเรียนการสอนที่ดีจะต้องแบ่งเนื้อหาวิชาเป็นตอน ๆ มีความยาวเหมาะสมกับวุฒิภาวะทางการรับรู้ของผู้เรียน (gradual approximation ) โดยคำนึงถึงหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ ( behavioral science ) ตามทฤษฎีที่ว่า "ถ้าเราแบ่งเนื้อหาวิชาที่จะถ่ายทอดให้ผู้เรียนเป็น ตอน ๆ ทีละน้อยเหมาะสมกับวุฒิภาวะของผู้เรียน ผู้เรียนจะสามารถรับความรู้ได้ดีกว่าการให้ความรู้แก่ผู้เรียนครั้งละมาก ๆ " ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนสามารถเก็บและเรียกข้อมูลเนื้อหาวิชาทีละตอนได้สะดวกและรวดเร็วมาก
                2. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง ( active partici-
pation) หมายถึง การที่ใช้คอมพิวเตอร์กำหนดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ตอบสนองอย่างชัดเจน
                3. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบผลการเรียนรู้และกิจกรรมที่ปฏิบัติ ทันทีที่ปฏิบัติสำเร็จ (immediatly feed back) หมายถึง การเฉลยคำตอบหรือปฏิบัติกิจกรรมนั้นสำเร็จโดยฉับพลัน ซึ่งข้อนี้เป็นจุดเด่นของระบบคอมพิวเตอร์ที่ดีกว่าสื่ออื่น ๆ
                4. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์แห่งความสำเร็จ (successive
experience) คือ การดำเนินการจัดการชักนำเข้าสู่กิจกรรมที่ถูกต้อง (Leading of prompt)
                5. จัดประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงที่ดี (Positive reinforcement) เช่น
การให้รางวัลเป็นข้อความชมเชย หรือรางวัลเป็นรูปอื่น ๆ เมื่อผู้เรียนประสบความสำเร็จในแต่ละชั้นแต่ถ้าผู้เรียนเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติ ก็ไม่ติเตียนแต่ต้องเป็นการให้กำลังใจเพื่อที่ผู้เรียนจะพยายามกระทำกิจกรรมต่อไปให้ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมอยากเรียนรู้สูงกว่าการเรียนปกติ และไม่เลิกเรียนกลางคัน การเสริมแรงมีอิทธิพลต่อการเรียนของผู้เรียนสูงมาก               
                คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน  ได้มีการกล่าวถึง  การเรียนแบบเกม และสถานการณ์จำลอง  ดังนี้
                การเรียนการสอนโดยใช้เกม  เป็นการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อผู้เรียน จะต้องปฎิบัติตามกฎกติกามารยาท เพื่อให้ได้มาซึ่งประตูสู่ชัยชนะ  เป็นกลวิธีการสอนที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนสูงมาก เป็นการสอนเนื้อหาวิชาในรูปแบบของเกม และกิจกรรมที่ตื่นเต้นเร้าใจ  อยากให้เรียนรู้                 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ  แบบเกมการแข่งขัน  และ แบบการร่วมมือ เช่น  เกมต่อคำ  เกมเติมคำ  เกมการคิดแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม ฯลฯ  โดยมีกติกาการแข่งขัน และ มีการแพ้ชนะเมื่อจบเกมแล้ว  ผู้เรียนจะได้รับความรู้และความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กันด้วย
                การเรียนการสอนแบบสถานการณ์จำลอง  เป็นการจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ให้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริง  ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ใช้สอน  หรือ ฝึกอบรมผู้เรียน ในลักษณะที่สมจริง เพื่อให้มีโอกาสนำความรู้ที่เรียนมาทดลองและแก้ปัญหา สามารถปฏิสัมพันธ์กับสิ่งนั้นและได้รับปฏิกิริยาย้อนกลับเหมือนกับในสถานการณ์จริง เนื่องจากในบางบทเรียนไม่สามารถทดลองให้เห็นจริงได้ เช่น การเคลื่อนที่ของลูกปืนใหญ่ การเดินทางของแสง  และการหักเหของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ปรากฏการณ์ทางเคมี หรือชีววิทยา ที่ต้องใช้เวลานานหลายวันจึงปรากฏผล  การใช้คอมพิวเตอร์จำลองแบบให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ง่าย เช่น  การสอนเรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า           การขับรถ เราสามารถสร้างจำลองเป็นรูปภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนได้เห็นจริงและเข้าใจง่าย          ทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในเรื่องวัสดุอุปกรณ์ ปฏิบัติการ ระยะเวลา และ ลดอันตรายได้
                รูปแบบของการเรียน ได้มีการเชื่อมโยงไปยังเรื่อง  กระบวนการส่งข่าวสาร  ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                กระบวนการส่งข่าวสาร  คือ  การเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวมแนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ  ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส (Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels) ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และ มีปฏิกิริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียบก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร

                กระบวนการส่งข่าวสาร  แบ่งออกเป็น  5  หัวข้อ  คือ
                -  ทฤษฎีการสื่อสาร  หมายถึง กระบวนการสร้างสรรค์ความหมายของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป 
                -  ปัญญาประดิษฐ์   เป็นวิทยาการที่ จะช่วยให้มนุษย์ใช้ คอมพิวเตอร์ แก้ปัญหาต่างๆ                ที่สำคัญ เช่นการให้ คอมพิวเตอร์ เข้าใจ ภาษามนุษย์ รู้จักการ  ใช้เหตุผล การเรียนรู้             
                -  การคำนวณ
                -  จิตวิทยาพุทธิพิสัย  เป็นจุดมุ่งหมายที่เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างทางปัญญาเพื่อรับความรู้ ข้อมูลและข่าวสาร ซึ่งเรียงลำดับตั้งแต่การจำสิ่งง่ายๆ การคิดคำนึงไปจนถึงการสร้างความสัมพันธ์กับความรู้ใหม่
                -  การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน
                5. สภาพแวดล้อม  บริเวณหรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่ใช้เพื่อเป็นสถานที่การเรียนรู้  สภาพแวดล้อมจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
                (1)  สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  แบ่งออกเป็น
                                -  สภาพแวดล้อมทางกายภาพในชั้นเรียน
                                -   สภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องทดลอง
                                -   สภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องปฏิบัติการ
                                -  สภาพแวดล้อมทางกายภาพทางทฤษฎีต่าง ๆ
                (2)  สภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคม  จะแบ่งออกเป็น
                                -  การศึกษาอิสระ  การศึกษารายบุคคล  ตรรกศาสตร์
                                -  กลุ่มสัมพันธ์  จิตวิทยาสังคม
                                -  การประเมินความชัดเจน  มนุษยวิทยา
                6.  สื่อการเรียน 
                สื่อการเรียนการสอน  เป็นตัวกลางที่จะนำเนื้อหาสาระและประสบการณ์ต่าง ๆ จากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในความหมายของสิ่งที่เรียนได้อย่างชัดเจนตรงตามที่ผู้สอนต้องการ  ช่วยลดระยะในการเรียน และเอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้  ทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้อีกด้วย  อย่างไร      ก็ตาม  สื่อการเรียนการสอนก็มีหลายประเภท  สื่อการเรียนการสอนแต่ละประเภทต่างก็มีลักษณะเฉพาะและคุณค่าในตัวของมันเอง ซึ่งไม่เหมือนกันในการใช้  สื่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะและคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อที่จะเลือกใช้สื่อ           
การเรียนการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาของบทเรียน  วัตถุประสงค์  และผู้เรียน  นอกจากนั้นผู้สอนยังต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการเรียนการสอน เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลการเรียนรู้ได้มากที่สุด
                ในเรื่องของ  สื่อการเรียน  ได้มีการกล่าวถึง  เครื่องมือการออกแบบ
                เครื่องมือการออกแบบ  แบ่งออกเป็น
                                -  การออกแบบวิศวกรรม
                                -  การออกแบบอิเล็กทรอนิกส์
                                -  การออกแบบกราฟิก
นอกจากนี้ยังได้มีการกล่าวถึง  เทคนิคการผลิตสื่อต่าง ๆ ด้วย  ได้แก่
                                -  เทคนิคการผลิตเทปเสียง
                                -  เทคนิคการผลิตโทรทัศน์
                                -  เทคนิคการผลิตภาพยนตร์
                                -  เทคนิคการผลิตวิทยุ
                                -  เทคนิคการผลิตวิดีโอเทป
                7.  การประเมินการเรียนการสอน   คือ  การประเมินผลการเรียนการสอนเป็นกระบวนการตรวจสอบประสิทธิภาพในการสอนของผู้สอนว่ามีจุดเด่น-จุดด้อยปานใด และวิธีการสอนขั้นตอนใดที่ควรจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น  แบ่งออกเป็น
                -  วิจัยเจตคติและความคิดเห็น  จิตวิทยาสังคม
                -  การวิเคราะห์เนื้อหา
                -  การประเมินผู้สอน
                -  การวัดผลการเรียน  แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่
                                -  การวิจัยทางจิตวิทยา  จิตวิทยา
                                -  คณิตศาสตร์และสถิติ  คอมพิวเตอร์
                8.  การแพร่กระจายของนวัตกรรม   คือ  การยอมรับ (Adoption) สิ่งใดของสังคม จะมีกระบวนการ (Process) คล้ายๆ กัน โดยเริ่มต้นจากมีสิ่งใหม่เกิดขึ้น มีคนกลุ่มหนึ่งยอมรับคิดว่าดีแล้ว จะเกิดการแพร่กระจาย (Diffusion) ไปตามช่องทางการสื่อสาร (Channels) ต่างๆ ของคนกลุ่มหนึ่งไปสู่อีกกลุ่มหนึ่งในสังคม อยู่ที่สิ่งใหม่นั้นมีความดึงดูดใจสูงก็จะทำให้การยอมรับสิ่งนั้น            ในสังคม  ใช้ระยะเวลาในการยอมรับสั้นขึ้น
                ธรรมชาติของโทรคมนาคมเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและธุรกิจสมัยใหม่ก็เช่นกัน มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation) อย่างรวดเร็วอยู่เสมอ แต่การยอมรับนวัตกรรม นั้นจะแตกต่างจากการแพร่กระจายความนิยมอื่นในสังคม เนื่องจากต้องมีการเรียนรู้       การใช้งาน ต้องมีความคุ้มค่าของเงิน ต้องมีปัจจัยหลายอย่าง
                9.  ผลกระทบ 
                ผลกระทบที่เกิดขึ้น
Elizabeth (1996)  กล่าวว่าเทคโนโลยีการศึกษาที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ช่วยให้เข้าใจได้กว้าง ลึก และสร้างสรรค์ถึงวิธีที่ก่อประโยชน์แก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ถึงชุมชน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และนโยบายการเมือง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และได้รับทักษะทางสังคมในการทำงานท่ามกลางความแตกต่างและระยะทาง  รวมทั้ง บทบาทของผู้สอนจะเปลี่ยนแปลงไปไม่เพียงแต่เป็นผู้ให้ข้อมูลสารสนเทศ แต่ยังเป็นผู้แนะนำและสนับสนุนผู้เรียนในการซึมซาบข้อมูลสารสนเทศนั้น
เทคโนโลยีการศึกษาเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมดังนี้
1.             รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และประสิทธิภาพของสภาพแวดล้อมทางการศึกษา
2.             การจัดระบบการศึกษาในระบบและนอกระบบโรงเรียนรวมทั้งรูปแบบการจัดระบบการศึกษาทางไกล
3.             การจัดการกระจายอำนาจทางการศึกษาในระดับและรูปแบบต่างๆ กัน
4.             การจัดระบบบ้าน ในฐานะเป็นสถานที่ให้การอบรม เลี้ยงดู และให้การศึกษาเด็ก
5.             รูปแบบระบบที่แก้ไขวิกฤติการณ์ทางการศึกษาด้านต่างๆ
6.             การจัดรูปแบบระบบการศึกษาเพื่อสร้างคุณสมบัติของสมาชิกในสังคมใหม่

จะเห็นได้ว่าผลกระทบต่อสาระของเทคโนโลยีตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทางด้านเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม มีลักษณะหลายๆ างอยรม มว่า ผบบการศึก้ายคลึงกันอย่าง บางอย่างมีรายละเอียดเฉพาะเจาะจง และชัดเจน  แต่ก็มีบางอย่างที่ไม่สามารถแยกแยะได้อย่างชัดเจน  เนื่องจากเป็นความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม  ด้านใดด้านหนึ่ง สองด้าน หรือสามด้าน ซึ่งเป็นผลกระทบทำให้สาระของเทคโนโลยีการศึกษาเปลี่ยนแปลงไป

                                                     ..............................................................



 แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลา และระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
            เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดเป็นระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทาง
            เทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) ซึ่งเป็นเทคนิคใหม่ที่ใช้ในการสื่อสารระยะไกล เป็นการผสมผสานของสัญญาณภาพ สัญญาณเสียงและข้อมูลผนวกกับเทคโนโลยีของเครือข่ายและการสื่อสารเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของมนุษย์ที่สามารถโต้ตอบกันแบบ Real-time ระหว่างกลุ่ม 2 กลุ่มหรือมากกว่าซึ่งอยู่ห่างไกลกัน
            โดยสรุปแล้วระบบโทรประชุมทางไกล หมายถึง การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็นบริการที่ให้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน โยผู้ใช้ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพ จอภาพ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ และชุดควบคุมการประชุมระหว่างจุดสองสุด จะต้องใช้อุปกรณ์สองชุดเชื่อมต่อกัน ส่วนการประชุมพร้อม ๆ กันนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์ Teleconference เท่าจำนวนจุดที่ต้องการประชุมและจะต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมหลายจุด (Multi-Point Control Unit : MCU) ช่วยการตัดภาพระหว่างจุดแต่ละจุด อุปกรณ์นี้สามารถเชื่อมสัญญาณเข้าด้วยกันได้ โดยทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งภายในเครื่องเดียวกัน ส่งสัญญาณผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงหรือผ่านระบบโครงข่าย ISDN
            นอกจากนี้จากการที่ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน ชิน ฟันแฟร์ (Shin Fun Fair) ทำให้ได้ทราบถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนยุคใหม่คือ เครือข่ายศูนย์การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม(Distance Learning via Satellite) ดำเนินงานโดย บริษัท ชิน บรอดแบรนด์ อินเตอร์เน็ต (ประเทศไทยจำกัดนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของการเรียนการสอนยุคใหม่เป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย โดยใช้โครงการเทคโนโลยีบรอดแบรนด์ Ipstar หรือInternet ความเร็วสูงผ่านดาวเทียม แบบ 2 ทาง (Interactive) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนทั้งภาพ เสียง และข้อมูล โดยเปิดโอกาสให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สอนจากศูนย์ iLearn ในกรุงเทพมหานคร และผู้เรียนที่อยู่ ณ ศูนย์ iLearn ในต่างจังหวัดเสมือนเรียนอยู่ในห้องเดียวกัน

            โดยศูนย์การเรียนการสอน I Learn ในจังหวัดต่างๆ ส่งผ่านข้อมูลผ่านทาง IPStar Gatewey แล้วผ่านไปยัง Fiber Opic แล้วส่งต่อไปยังสถานีแม่ข่ายเพื่อออกอากาศหลักสูตรการสอน และการอบรม (แหล่งที่มาwww.ilearn.in.th)
            ยิ่งไปกว่านั้นหากมองในอีกแง่มุมหนึ่งของการศึกษาทางไกลนอกเหนือจากการศึกษาทางไกลผ่านทางเทคโนโลยีโทรประชุมทางไกล (Video Conference) การศึกษาทางไกลผ่านทางดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ดังที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ ไว้ในตอนต้นแล้ว การศึกษาทางไกลอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นระบบการเรียนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่นิยมเรียกกันว่า  E-Learning หรือ Electronic Learning ก็เป็นส่วนสำคัญและมีคุณค่ายิ่งต่อการจัดการศึกษาของไทยให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างทั่วถึงทุกคน ซึ่งเนื้อหาในส่วนต่อไปจะกล่าวถึงสาระที่สำคัญของ E – Learning ดังต่อไปนี้
            E-Learning หรือ Electronic Learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มี การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge)ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่  (Anywhere-Anytime Learning)  เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น   และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้น ๆ 
            รูปแบบการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
            4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network : ALN) เป็นการเสียนการสอนที่ต้องการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ
            ลักษณะของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนผ่าน E-Learning ประกอบด้วย
                E-Book การสร้างหนังสือหรือเอกสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประโยชน์กับระบบการเรียนการสอนบนเครือข่าย
            Virtual Lab การสร้างห้องปฏิบัติการจำลองที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาทำการทดลอง การทดลองอาจใช้วิธีการทาง simulation หรืออาจให้นักเรียนทดลองจริงตามคำแนะนำที่ให้
            Video และการกระจายแบบ Real/audio/video เป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบวีดีโอ หรือบันทึกเป็นเสียงเพื่อเรียกผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            Virtual Classroom เป็นการสร้างห้องเรียนจำลองโดยใช้กระดานข่าวบนอินเตอร์เน็ตกระดานคุยหรือแม้แต่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์การเรียนรู้ผ่านเครือข่าย
            Web base training การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพจเพื่อประโยชน์การเรียนการสอน
            E-library การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบนเครือข่ายได้
            ขณะนี้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความสนใจกับ E-Learning ทั้งที่มีการพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้ชื่อ http ://www.chulaonline.com และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ภายใต้ชื่อโครงการ http ://www.ru.ac.th/learn โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ระบบ E-Learning มาเสริมประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนทางไกลที่มีอยู่ในปัจจุบัน และในต่างประเทศได้มีการพัฒนา E-Learning มาพอสมควรแล้ว เช่น Australia Department of Education , Training and Youth Affairs ภายใต้ชื่อ http ://www.detya.gov.au/ เช่นกัน
           
            สรุปได้ว่าการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคปัจจุบัน และ หลักของ E-Learning ก็คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น E-Learning จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมยุค IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ เพื่อการศึกษาในหลากหลายรูปแบบE-Learning จึงถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าปรับตัวให้ทันต่อโลกยุคไร้พรมแดน และโลกในยุคต่อ ๆ ไปที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำลงชีวิตของสังคมมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

แนวโน้มการศึกษาทางไกล
สำหรับข้อมูลในส่วนของแนวโน้มของการศึกษาทางไกล ก่อนที่จะกล่าวถึงแนวโน้มที่ได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากข้อมูลที่ผ่านมาในอดีตและในปัจจุบันแล้ว แหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญในอ้างอิง เพื่อให้แนวโน้มที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั้นมีความเชื่อถือได้ ผู้ศึกษาจึงต้องกล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา ที่ยกมาพอสังเขปดังนี้
            งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
            น้ำทิพย์ สุนทรนันท (2534) แนวโน้มการพัฒนาสื่อสำหรับการศึกษาทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน (Trends of Media Development for Distance Education of  Non-formal Education Department)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวโน้มในการพัฒนาสื่อสำหรับการศึกษาทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียนในอีก 10 ปี ในด้านนโยบายการใช้สื่อการศึกษาทางไกล การบริหารและการจัดการสื่อการศึกษาทางไกล งบประมาณการสำหรับสื่อการศึกษาทางไกล ประเภทของสื่อการศึกษาทางไกล และบุคลากรด้านสื่อการศึกษาทางไกล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสำหรับการศึกษาทางไกลจำนวน 36 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นจำนวน 3 รอบ โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
            จากแนวโน้มทั้งหมด 110 ข้อ ผู้เชี่ยวชาญเห็นสมควรให้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้ 84 ข้อ แบ่งเป็น
            ด้านนโยบายการใช้สื่อการศึกษาทางไกล                                             27   ข้อ
            ด้านการบริหารและการจัดการสื่อการศึกษาทางไกล                  18   ข้อ
            ด้านงบประมาณ                                                                             7   ข้อ
            ด้านประเภทของสื่อการศึกษาทางไกล                                                27   ข้อ
            ด้านบุคลากรสื่อการศึกษาทางไกล                                                     5   ข้อ
            ณรงค์ จิตวิศรุตกุล (2535) การศึกษาการดำเนินงานตามโครงการนิเทศทางไกลของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลำปาง (A Student of the Implementation of the Project for Distance Supervision of the Office of Lampang Provincial Primary Education) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการดำเนินงานและปัญหาการดำเนินงานตามโครงการนิเทศทางไกลของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดลำปอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยทั้งหมด 612 คน ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ อำเภอผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้าศูนย์วิชาการกลุ่มโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง แบบสอบถามและแบบศึกษาเอกสาร ผลการวิจัยมีการสร้างสื่อนิเทศทางไกลประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุสื่อสารและโทรทัศน์ ส่งไปยังผู้รับการนิเทศเพื่อให้เผยแพร่ในโรงเรียน สำหรับปัญหาที่พบได้แก่ ขาดงบประมาณ ความล่าช้าในการส่งสื่อและขาดระบบการรับที่ดี
            ชวลิต บัวรัมย์ (2540) แนวโน้มด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบสื่อสารทางไกลของประเทศไทยในปี พ.. 2550 โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 18ท่าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
            1. แนวโน้มด้านโทรทัศน์การศึกษา ใช้ดาวเทียม เส้นใยแก้วนำแสง สารเคเบิลเป็นสื่อสัญญาณถ่ายทอดรายการโทรทัศน์ จะเน้นเสนอเป็นรายการสด นำเอาระบบมัลติมีเดีย Digital Video Disk , Web TV เข้ามาเสริมกับโทรทัศน์โดยการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เนื้อหาเป็นลักษณะ Package ซึ่งจะครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทย เครื่องรับโทรทัศน์มีขนาดจอ 29 นิ้วขึ้นไป พร้อมกับมีเครื่องเล่น Video CD และสามารถเชื่อมต่อกับเคเบิลทีวีได้
            2. แนวโน้มด้านโทรศัพท์เพื่อการศึกษา จะเปลี่ยนจากระบบอนาลอกมาใช้ระบบ ISDN ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นการรวมโทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เข้าด้วยกัน เป็นการนำความรู้จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง โดยไม่มีขีดจำกัดด้วยเวลาและระยะทาง อยู่ในรูปของสื่อทันสมัยมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถใช้โทรศัพท์เป็นการเจาะข้อมูลเรียนรู้ด้วยตนเอง
            3. แนวโน้มด้านดาวเทียมเพื่อการศึกษา ทำให้คนไทยเรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยไม่ต้องเป็นสมาชิกมีความเป็นระหว่างประเทศ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม และค่าใช่บริการจะถูกลง ใช้แพร่หลายทั่วประเทศทุกระดับชั้นการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล
            4. แนวโน้มด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการทำงาน ใช้ในการเรียนการสอนและฝึกอบรมระหว่างมหาวิทยาลัยหรือวิทยาเขตของตนเองที่ขยายไปยังจังหวัดอื่น ๆ การสอนเป็นแบบกลุ่มใหญ่ มีการนำระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ร่วมการประชุมทางไกลในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษามีการใช้น้อยมากครูผู้สอนยังมีความจำเป็นในการสอนอยู่
            5. แนวโน้มด้านอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา มีแหล่งทรัพยากรความรู้หลากหลายในการค้นคว้าจะแพร่หลายเป็นที่นิยมกันกว้างขวางทั่วประเทศ มีบทบาทในการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีการติดตั้งระบบเครือข่ายสารสนเทศภายในองค์กรเพื่อเป็นการรองรับระบบ Video on Demand และระบบเรียกผ่าน CAI on Internet

            จากการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของการศึกษาทางไกลทำให้สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกล ดังต่อไปนี้
            1. แนวโน้มด้านวิทยุเพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านวิทยุเพื่อการศึกษา จะมีสถานีวิทยุกระจายเสียง ที่ผู้เรียนสามารถสอบถามอาจารย์ผ่านทาง E-Mail ได้ สถานีวิทยุกระจายเสียงจะต่อกับระบบ Internet Radioเพื่อใช้ร่วมกันได้ทุกพื้นที่ เทปคำบรรยายสรุปจะมีบทบาทร่วมกับวิทยุการศึกษามากขึ้น ม้วนเทปที่ใช้บันทึกรายการวิทยุจะเปลี่ยนเป็นแผ่น CD สถานีวิทยุจะต่อเข้ากับเครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN)
            วิทยุเพื่อการศึกษาจะเป็นสื่อหลักอย่างหนึ่งในการศึกษาทางไกล ของทุกหน่วยงานการศึกษา ทั้งหน่วยงานของกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยจะสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยด้านวิทยุการศึกษามากขึ้น มีคณะกรรมการควบคุมและประเมินผลการใช้สื่อด้านวิทยุการศึกษาตลอดจนเพิ่มงบประมาณด้านวิทยุการศึกษามากขึ้น
            2. แนวโน้มทางด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษาระบบโทรทัศน์จะต่อเข้ากับระบบ Internet Television และเปลี่ยนจากระบบ Analog มาเป็นระบบ Digital Television (DTV)โทรทัศน์ โทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ จะเชื่อมเป็นหนึ่งเดียวกันจะทำให้การเรียนการสอนไม่มีขีดจำกัดในเรื่องระยะทางและเวลา ระบบโทรทัศน์จะเข้าสู่ระบบ Internet Television สามารถจัดการเรียนการสอนในระบบ Course on Demand โดยอาศัย Cable Television Network และระบบโทรทัศน์จะใช้ Band Width ต่ำเพื่อประหยัดด้านทรัพยากรความถี่ วัสดุอุปกรณ์ด้านโทรทัศน์การศึกษาจะเป็นลักษณะสื่อประสมเป็นการใช้สื่อแบบผสมผสานนำเสนอให้ผู้เรียนรู้ได้กว้างขวางและเข้าใจง่ายโดยจัดเป็นรูปของสื่อสำเร็จรูป มีการใช้ชุดการเรียนแบบ Interactive Television มีการนำอุปกรณ์ที่ใช้ระบบ DVD (Digital Video Disk) มาใช้ร่วม เครื่องรับโทรทัศน์จะนิยมใช้จอภาพขนาด 29 นิ้วขึ้นไป และใช้ร่วมกับเครื่องเล่น Video Compact Disc และมีอุปกรณ์แปลงสัญญาณของระบบ Cable Television
            โทรทัศน์เพื่อการศึกษาจะเป็นสื่อหลักอย่างหนึ่งในการศึกษาทางไกลอย่างที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนโยบายในการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยทางด้านโทรทัศน์การศึกษา จัดงบประมาณเพิ่มมากขึ้น ร่วมกันหน่วยงานของเอกชนและหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อจัดระบบโทรทัศน์การศึกษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น มีคณะกรรมการควบคุมและประเมินผลการใช้สื่อด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและให้มีศูนย์โทรทัศน์เพื่อการศึกษาเกิดขึ้นตามสาขาวิทยบริการต่าง ๆ
            3. แนวโน้มทางด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา
            โดยภาพรวมแนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลทางด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา วิธีการของการประชุมทางไกลจะใช้ผ่านดาวเทียมและสายโทรศัพท์ที่เป็นระบบดิจิตอล และใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมการประชุมทางไกลจะมีบทบาทมากในการศึกษาอบรม สัมมนา และการจัดการเรียนการสอน เป็นกลุ่มย่อย เป็นกลุ่มใหญ่ หรือมวลชน ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ทำให้สามารถรับนักศึกษาปริญญาตรีและปริญญาโทเข้าเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนจะเปลี่ยนเป็นแนว Any Time / Anywhere ซึ่งในส่วนของทบวงมหาวิทยาลัย บุคลากรของมหาวิทยาลัยจะพร้อมเข้าสู่ระบบ E-University จะมีการนำระบบโทรศัพท์มือถือที่มีกล้องขนาดเล็กติดอยู่มาประยุกต์ใช้กับระบบการสอนทางไกล การขยายเครือข่ายทำได้ง่ายและประหยัด เทคโนโลยีบีบอัดสัญญาณทำให้ลดขนาดของสัญญาณสื่อสารภาพและเสียงจะมีประสิทธิภาพสูง และมีการจัดตั้งสถานีการสื่อสารทางไกลระบบ 2 ทางเพื่อการศึกษาบนเครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) และอินเตอร์เน็ต
           
            นอกจากนี้จะขอกล่าวเพิ่มเติมถึงในข้อมูลของรายงานการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “บทบาทและแนวทางการพัฒนาการศึกษาทางไกลของกระทรวงศึกษาธิการ” ในประเด็นการอภิปราย “รูปแบบและแนวทางการใช้สื่อทางการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ในอนาคต” สรุปได้ใน 3 ประเด็น ดังนี้
                   1. ประเภทของสื่อ สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ในอนาคต ควรมีลักษณะที่เป็นสื่อประสม มีความหลากหลายรูปแบบ หลายประเภทให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายและสภาพการพัฒนาของประเทศและเทคโนโลยีทางการศึกษา ทั้งในส่วนของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
                        2. กลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องของกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับการบริการสื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้นั้น ควรยึดกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ได้แก่ นักเรียนในระบบโรงเรียน นักศึกษานอกระบบโรงเรียน และประชาชนทั่วไป
                        3. แนวทางการใช้บริการ ในการดำเนินการให้บริการสื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ควรดำเนินการดังนี้
                        3.1 การกระตุ้นให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญของการใช้สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้ของกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ตารางออกอากาศการสำรวจความต้องการในการใช้สื่อการศึกษาทางไกล และการประเมินผลการใช้สื่อ
                        3.2 การจัดศูนย์บริการสื่อในระดับพื้นที่ ซึ่งสามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้ทุกเวลาและมีสื่อที่หลากหลาย จำนวนเพียงพอต่อความต้องการรับบริการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่
            สรุปได้ว่า การใช้สื่อการศึกษาทางไกลเพื่อการเรียนรู้นั้น สิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาสื่อนั้น ผู้ผลิตสื่อจะต้องมีการติดตามประเมินผลการใช้สื่อนั้น ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อจะได้นำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาสื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและสภาพของผู้ใช้สื่อ ซึ่งสื่อการศึกษาทางไกลจะต้องมีลักษณะที่หลากหลายและสะดวกในการใช้งาน สามารถให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
            4. โยงกับ พ..เนื่องจากให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อต่าง ๆ เป็นการฝึกฝนให้ผู้เรียนมีวินัย และความรับผิดชอบ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และเป็นการดำเนินการจัดการศึกษาโดยส่วนกลางที่สอดคล้องกับมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) .. 2545 ซึ่งระบุไว้ในวรรคว่า
            “ในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการศึกษาได้ตามวรรคหนึ่ง กระทรวงอาจจัดให้มี การศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้ เพื่อเสริมสร้างการบริหารและจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้” (4) การจัดการศึกษาทางไกลและการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษาสถาบันการศึกษาทางไกลให้บริการการศึกษาเทียบเท่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่องแก่ประชาชน กลุ่มเป้าหมาย ด้วยระบบวิธีการเรียนแบบทางไกลด้วยตนเอง โดยอาจต้องไปศึกษาค้นคว้าจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ สถาบันการศึกษาทางไกลจึงได้จัดบริการสื่อหลากหลายประเภทไว้ในแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน ศูนย์การเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่นักศึกษาและประชาชนอย่างต่อเนื่อง

            แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศึกษา จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ (สุภาณี เส็งศรี, 2543)
            1. จัดการเรียนการสอนตามความพร้อมแบบไม่จำกัดเวลา สถานที่ โดยเน้นปริมาณแต่คำนึงถึงคุณภาพเพื่อมาตรฐานการศึกษา
            2. ปฏิรูปการเรียนรู้โดยมุ่งจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            3. มุ่งพัฒนา จัดหา และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการเรียนการสอนทางไกล เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งวิทยาการอย่างอิสระ
            4. ลดข้อจำกัดทางการศึกษาโดยเฉพาะมุ่งเน้นความเท่าเทียมทางการศึกษาในทุกชุมชนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งลดปัญหาการขาดผู้สอนซึ่งมีความรู้ความสามารถ
            5. เน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม
            6. สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร/สถาบันต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาการทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ

            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านการบริหารและการจัดการ การศึกษาทางไกลถือได้ว่าเป็นกระบวนการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต จำเป็นต้องมีการจัดระบบการจัดการที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง รัฐควรเน้นในเรื่องการประสานงานและการระดมกำลังทั้งคนและความคิด มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะในปัจจุบันการบริหารและการจัดการยังคงเน้นรูปแบบรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ศูนย์กลางจะเป็นตัวควบคุมและสั่งการไปยังส่วนภูมิภาค ยังไม่มีการกระจายอำนาจที่ดีพอ การประสานงานต่าง ๆ ยังคงเกิดปัญหา อีกทั้งการจัดการศึกษาก็ไม่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ดังนั้นรัฐจึงควรมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาค ระดมกำลังทั้งคนและความคิดเพื่อนำมาใช้ในการศึกษา มีการใช้ทรัพยากรที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งการบริหารงานแบบนี้จะทำให้ท้องถิ่นและภูมิภาคได้มีโอกาสและมีบทบาทในการกำหนดทิศทางในการบริหารและการจัดการทางการศึกษา ซึ่งการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาคจะสร้างผลดีกว่าการบริหารและการจัดการแบบก่อนที่เน้นศูนย์กลางเป็นหลัก

            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านงบประมาณ ควรจะมีการเพิ่มงบประมาณในการผลิตวิจัย พัฒนาสื่อและบุคลากร การติดตามผลและการประเมินผล ควรมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบในการจัดสรรงบประมาณ งบประมาณของการศึกษาทางไกลในอนาคตน่าจะได้รับงบประมาณมาจากภาครัฐและภาคเอกชน จึงควรมีการจัดสรรงบประมาณให้มีความเหมาะสม ถูกต้องและยุติธรรมเพื่อที่จะสามารถนำงบประมาณเหล่านั้น ไปพัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีความเหมาะสมและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านประเภทของสื่อ
            สื่อคอมพิวเตอร์ ระบบ Internet ดาวเทียม และโทรทัศน์ น่าจะเป็นสื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลมากที่สุด ซึ่งสื่อเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทแทนที่สื่อเก่า ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
            ในปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปมาก สื่อในการศึกษาทางไกลจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย ซึ่งสื่อประเภทคอมพิวเตอร์และระบบ Imternet ระบบดาวเทียมและโทรทัศน์ ถือได้ว่าเป็นสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ เป็นสื่อประสม ซึ่งทำให้ผู้สอนกับผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ มีการโต้ตอบกันได้ และมีผลย้อนกลับ (Feed Back) ผู้เรียนเกิดความสนใจและอยากที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา อีกทั้งในระหว่างการเรียนการสอน ผู้เรียนถ้าเกิดไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาของวิชา ก็สามารถที่จะสอบถามกับผู้สอนได้ทันที แต่สื่อในลักษณะนี้ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูง และยังมีไม่แพร่หลายมากนัก ดังนั้น สื่อการศึกษาทางไกลควรจะเน้นให้มีการสื่อสารในลักษณะที่เป็นผลย้อนกลับ ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพราะความแตกต่างของระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเห็นได้ว่า คนเราสามารถจำในสิ่งที่ตนอ่านได้เพียงร้อยละ 10 จำในสิ่งที่ได้ยินร้อยละ 20 จำในสิ่งที่ได้เห็นร้อยละ 30 จำในสิ่งที่ได้ยินและได้เห็นร้อยละ 50 จำในสิ่งที่พูดร้อยละ 70 จำในสิ่งที่พูดและปฏิบัติร้อยละ 90 (Raudsepp 1979 อ้างถึงใน น้ำทิพย์ สุนทรนันทา 2534) ซึ่งแสดงว่า สื่อที่ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนถ้าเป็นสื่อที่ให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ ยิ่งปฏิบัติได้มากเท่าใดก็จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า สื่อการสอนแบบเก่าที่เป็นแบบสื่อทางเดียว จะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพต่ำ และสื่อสมัยใหม่ที่เป็นลักษณะสองทางจะทำให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากกว่า
            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านบุคลากร ในการศึกษาทางไกล จำเป็นต้องมีบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการศึกษาทางไกล ซึ่งได้แก่
            นักเทคโนโลยี
          นักเทคโนโลยีถือได้ว่ามีบทบาทอย่างมากในการจัดการศึกษาทางไกล เพราะนักเทคโนโลยีจะอยู่ในฐานะ ผู้ผลิต ผู้พัฒนา ผู้ใช้และผู้ให้บริการ
            การศึกษาในปัจจุบันและในอนาคต จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาสได้เรียน รัฐก็ให้ความสำคัญกับการศึกษา เพราะ คนเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต นักเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาทางไกล และจะมีบทบาทสำคัญมากในอนาคต เพราะ นักเทคโนโลยีอยู่ในฐานะ ผู้ผลิต สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนทางไกล ต้องมีการผลิตสื่อที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียน สื่อการเรียนการสอนที่ดีเรียนแล้วเกิดประสิทธิภาพในการเรียนมากยิ่งขึ้น การเรียนก็จะประสบความสำเร็จ ดังนั้นนักเทคโนโลยีต้องมีการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการศึกษา เรื่องเทคโนโลยี เพื่อนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาสร้าง พัฒนาและปรับปรุง สื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เมื่อผู้เรียนนำไปใช้ในการศึกษาแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
            จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 หมวด 9 มาตรา 63 นั้น นักเทคโนโลยีการศึกษาอาจถือได้ว่าเป็น ผู้ใช้ เพราะรัฐได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมตามความจำเป็น ดังนั้นนักเทคโนโลยีการศึกษา จึงสามารถที่จะใช้คลื่นความถี่ สื่อตัวนำ หรือโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม หรือสื่ออื่น ๆ เพื่อนำสื่อต่าง ๆ เหล่านี้มาใช้ในการศึกษาทางไกล เพื่อให้การศึกษาทางไกลเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาทางไกลจะเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษา ให้ผู้เรียนที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ได้มีโอกาสที่จะได้รับการศึกษา อีกทั้งยังสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนอาจารย์หรือครูผู้สอนได้อีกด้วย การเรียนการสอนทางไกลทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา เป็นการกระจายการศึกษาไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศโดยเฉพาะชุมชนที่อยู่ห่างไกล เป็นการศึกษาตลอดชีวิต บุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถเรียนรู้ได้ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศได้อีกทางหนึ่ง อีกทั้งการเรียนการสอนทางไกลยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้สอนหรือครูที่จะต้องเดินทางไปสอน และของผู้เรียนหรือนักเรียนที่จะต้องเดินทางมาเรียนได้อีกทางหนึ่ง แต่เมื่อรัฐได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่แล้ว ก้ต้องมีมาตรการที่คอยระวังไม่ให้พวกที่ทุจริต นำเอาสื่อต่าง ๆ ไปใช้ในทางที่ผิดหรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง เจตนาที่ดีของรัฐอาจจะกลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มได้ และในอนาคตเทคโนโลยีต้องมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น นักเทคโนโลยีต้องมีการติดตามข่าวสารและเรียนรู้เทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลาเพื่อที่จะสามารถทำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านั้นมาใช้ในการศึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป
            สังคมในปัจจุบัน ได้กลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การจัดการฝึกอบรม ก็ถือได้ว่า เป็นหน้าที่ของนักเทคโนโลยีเพราะนักเทคโนโลยีจะอยู่ในฐานะ ผู้ให้บริการ เพราะในการศึกษาทางไกล จำเป็นต้องมีการจัดการฝึกอบรมให้กับผู้สอน เพราะผู้สอนจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น เมื่อผู้สอนได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ก็จะสามารถรู้วิธีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในสอน และจะทำให้การเรียนการสอนทางไกลเกิดประสิทธิภาพตามไปด้วย

            ผู้สอนในการศึกษาทางไกล
            ครูหรือผู้สอนทางไกล มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต เพราะการศึกษาทางไกลได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาและกำลังเป็นที่ยอมรับ เช่น การจัดการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็ถือได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาทางไกลและเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปและในอนาคตจะมีการขาย พัฒนา การศึกษาทางไกลมากขึ้นไปอีก ดังนั้นครูหรือผู้สอนจึงนับความมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการศึกษาไกล ต้องมีการเตรียมการเรียนการสอนที่ดีเพื่อที่จะสามารถสอนผู้สอนให้มีความเข้าใจในบทเรียนนั้น ๆ และยังต้องมีการศึกษาและติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอเพื่อที่จะสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงและนำมาใช้พัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งแนวโน้มของระบบอินเตอร์เน็ตกำลังเข้ามามีบทบาทในการศึกษาทางไกลเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการสืบค้าหาข้อมูลที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว มีความสะดวกสบายในการใช้งาน หรือจะใช้ E-Mailเป็นเครื่องมือในการติดต่อระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนได้ ครูหรือผู้สอนอาจใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการศึกษาทางไกล อาจจะเป็นการสร้าง Homepage ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน ถ้าหากผู้เรียนเกิดความไม่เข้าใจในการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาเนื้อหาวิชาที่เรียนไปได้ตลอดเวลา หรืออาจจะมีการสอบถามเรื่องที่ไม่เข้าใจกับผู้สอนได้โดยทาง E-Mail หรือทาง Web-Board จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้น
            ในอนาคตระบบอินเตอร์เน็ตจะมีบทบาทในการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีจะมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ง่าย ปัจจุบันผู้สอนสามารถสอนหนังสือผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งก็คือ การศึกษาทางไกล ทำให้เป็นการกระจายความรู้ไปสู่ชนบท ภูมีภาคต่าง ๆ ให้มีความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ไม่ใช่มีการกระจุกตัวอยู่แต่ในส่วนกลาง จากความคิดของพ่อแม่ที่ว่า ถ้าอยากให้ลูกเรียนหนังสือเก่ง ๆ ต้องส่งเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ความคิดเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป เพราะการศึกษาทางไกลจะทำให้ทุกคนสามารถเรียนได้เท่าเทียมกันทั้งหมด แต่การที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีหรือไม่ดีนั้น ต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองว่าให้ความสนใจกับการศึกษามากน้อยแค่ไหน
การสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันก็ถือได้ว่าดีในระดับหนึ่ง อาจจะมีการล่าช้าหรือกระตุกบ้างเป็นบางครั้งเพราะอาจเกิดจากการรีเลย์ของระบบ แต่ในอนาคตระบบอินเตอร์เน็ตคงได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก อาจทำให้การส่งข้อมูลข่าวสารทำได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว ไม่เกิดการผิดพลาดก็เป็นได้ ทำให้การศึกษาทางไกลมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
            อีกทั้งรัฐก็มีการสนับสนุนการศึกษามากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้จากการออก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และในอนาคตรัฐคงมีการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น เพราะการศึกษาถือได้ว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะทำให้คนมีความรู้ และถ้าคนเรามีความรู้ก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต และประเทศชาติต่อไปในอนาคต

มหาวิทยาลัยเสมือนจริง
ความหมาย
            ปัจจุบัน มีคำในภาษาต่างประเทศที่มีความหมายคล้ายคลึงกันกับคำว่า Virtual University หลายคำเช่น Virtual Campus, Cyber University, Cyber Campus, Online University เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยได้มีการใช้คำว่า มหาวิทยาลัยเสมือนจริง มหาวิทยาลัยออนไลน์ หรือ มหาวิทยาลัยโทรสนเทศ ซึ่งหมายถึง สถาบันการศึกษาออนไลน์ (Online Institutions) ที่สร้างโอกาสและเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาความรู้ได้ โดยผู้เรียนเป็นผู้กำหนด โดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เพื่อเรียนรู้ในเนื้อหาวิชา เพื่อฝึกฝนให้เกิดทักษะ หรือเพื่อสำเร็จการศึกษา อันจะนำไปสู่ปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2544) หรือมหาวิทยาลัยไม่มีข้อจำกัดในด้านเวลาและสถานที่ ในมหาวิทยาลัยเสมือนจริงนั้น ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องทดลอง ห้องสมุด และห้องพบปะสนทนา ล้วนเปิดทำการตลอดเวลา ผู้เรียนสามารถเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจอยู่ในบ้าน ที่ทำงาน หรือที่ใด ๆ ก็ได้
            มหาวิทยาลัยเสมือน เป็นการผนวกเอาความรู้ ความสามารถ เทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขาวิชา เช่น คอมพิวเตอร์ ครุศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ มาประมวลความรู้แล้วนำมาพัฒนาซอฟต์แวร์ อันนำไปสู่การเสนอ (Delivery) องค์ความรู้ และความร่วมมือกัน (Collaboration) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเสมือนจึงเป็นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้ เช่น อินเทอร์เน็ต วีดีโอออนดีมานด์ มาประยุกต์ใช้ในระบบการเรียนการสอนชนิดนี้ ให้มีคุณภาพเทียบเท่าหรือดีกว่าระบบการเรียนการสอนแบบเดิม
            นอกจากนี้ Steve Ryan และคณะ (2000) ได้เสนอความหมายของ Virtual Education Institution ซึ่งเป็นที่มาของ Virtual University ไว้ 2 ลักษณะ ดังนี้
            1. An institution which is involved as a direct provider of learning opportunities to students and is using information and communication technologies to deliver its programmes and courses and provide tuition support. Such institutions are also likely to be using information and communication technologies for such other core activities as:
-          administration (e.g., marketing, registration, student records, fee payments, etc);
-          materials development, production, and distribution;
-          delivery and tuition;
-          career counseling/advising, prior learning assessment, and examinations.
2. An organization that has been created through alliances/partnerships to facilitate teaching and learning to occur without itself being involved as a direct provider of instruction. Examples of such organizations would be the Open Learning Agency of Australia, the emerging Western Governors University in the United States, and the National Technological University. (Farrell, online)
โดย Rumble (1997, p.60 อ้างถึงใน Steve Ryan และคณะ, 2000) ได้ยอมรับคำจำกัดความทั้งสองนี้ และรวมเอาความหมายของคำจำกัดความทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน โดยเพิ่มการใช้ World Wide Web และเทคโลโลยีอินเตอร์เน็ตมาอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอนผ่านเว็บในระดับอุดมศึกษา (Higher Education)
จากคำนิยามและความหมายข้างต้น สรุปได้ว่า “Virtual University” หมายถึง สถาบันการศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นการบริหารการศึกษา การให้บริการทางการศึกษา อุปกรณ์การศึกษา การให้คำปรึกษา และการศึกษา ผ่านเว็บไซต์โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการจัดการดำเนินการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนสามารถที่จะกำหนดเวลาเรียน เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามความต้องการของตนเอง ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

การพัฒนาของมหาวิทยาลัยเสมือนจริง
            จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสาร โทรคมนาคม และอินเตอร์เน็ตส่งผลต่อระบบการอุดมศึกษาของโลก ในหลายประเทศมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าว ในการให้บริการการศึกษา ทั้งในรูปของการศึกษาในระบบ การให้การศึกษาต่อเนื่องแก่ผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นการให้บริการด้านการเรียนรู้ภายใต้หลักการที่สำคัญคือ ความยืดหยุ่น (Flexibility) ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility and Affordability) คุณภาพ (Efficiency) และความสามารถในการรวบรวมความรู้ (Wisdom of Collection) ซึ่ง Perrin (1995 อ้างถึงใน วิริยะ วงศ์เลาหกุล 2543) ได้คาดการณ์ถึงลักษณะของมหาวิทยาลัยในอนาคตดังนี้
            1. เป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่มีกำแพงขวางกั้น ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกหลักสูตรหลายวิชา และอาจารย์ที่ปรึกษาจากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ และสถาบันทางเทคนิคต่าง ๆ ทั่วโลก
            2. เป็นมหาวิทยาลัยที่ออกแบบ สำหรับคนที่ไม่สามารถเรียนตามกรอบประเพณีในรูปแบบโรงเรียน ให้สามารถเรียนเวลาใดก็ได้ สถานที่ใดก็ได้ และผู้เรียนเป็นผู้กำหนดทางเลือก
            3. เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดทำการตลอดเวลา
            4. เป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ มีวัฒนธรรมและภาษาที่หลากหลาย ซึ่งหลักสูตรต่าง ๆ กำเนิดมาจากนานาประเทศ นานาวัฒนธรรม และนานาภาษา
            5. ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดแบบแผนการเรียนด้วยตนเอง บนฐานของความสนใจง
            6. คอมพิวเตอร์ มัลติมีเดีย ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์และทางด่วนข้อมูลข่าวสาร มีบทบาทสำคัญในการจัดหารายวิชาและบริการที่มีการปฏิสัมพันธ์เต็มรูปแบบ
            7. จัดหลักฐานที่เอื้อต่อความต้องการในอนาคต และเตรียมผู้เรียนให้ทำงานได้อย่างแท้จริง
            8. เป็นมหาวิทยาลัยที่ตอบสนองคนอัจฉริยะ คนสร้างสรรค์ และคนที่ชอบทำงานร่วมกัน และแผนการเรียนการสอนเป็นแบบที่ปรับตัวกับอนาคต
            จากการพัฒนาทางเทคโนโลยีโทรคมนาคม คอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทต่อวงการการศึกษาในทุกระดับมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทในแง่ของการสื่อสารและการผลิตสื่อการสอนที่สามารถติดต่อถึงกันได้รวดเร็ว และจากความต้องการใหม่ทางด้านการศึกษา ทำให้เกิดมีการนำแนวความคิดของพัฒนาการดังกล่าว มาสร้างเป็นมหาวิทยาลัยเสมือน (Cyber University) ที่กำลังนิยมในต่างประเทศ ในขณะที่ประเทศไทยกำลังสนใจที่จะนำระบบนี้มาใช้กับ ระบบการเรียนการสอนทางไกล หวังเพียงว่าจะพัฒนาเครือข่ายการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ และเป็นเลิศทางวิชาการ ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 นายไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ รองคณบดีสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชกล่าวว่า จากข้อจำกัด หรือจุดอ่อนการเรียนการสอนในระบบทางไกลนั้น จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเน้นใช้สื่อพิมพ์เป็นหลัก ทำให้การเรียนการสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาขาวิชาคำนวน เช่น เศรษฐศาสตร์ สถิติ คณิตศาสตร์ มักจะเกิดปัญหาเพราะการอ่านด้วยตนเองนั้นจะเป็นการยากเกินไป ในขณะเดียวกันสาขาวิชานิเทศศาสตร์เอง ก็ยังได้รับผลกระทบด้วย กล่าวคือ นักศึกษาขาดทักษะเนื่องด้วยธรรมชาติของศาสตร์ทางด้านนี้ จะต้องอาศัยการฝึกปฏิบัติแทบทุกรายวิชา จึงเห็นว่าการจะแก้ปัญหาตรงจุดนี้ น่าจะนำแนวความคิดของมหาวิทยาลัยเสมือนมาใช้กับการศึกษาทางไกลได้ เพราะว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถที่จะนำระบบมาเสริมช่องว่างให้ครบวงจรมากขึ้นขณะเดียวกัน
            จากกรณีปัญหาดังกล่าว ทางคณะนิเทศศาสตร์ได้พยายามที่จะจุดประกายแนวคิดในเรื่องมหาวิทยาลัยเสมือนจริง ด้วยการจัดอภิปรายเชิงวิชาการ ผลจากการอภิปราย พบว่า นักวิชาการหลายฝ่ายได้ตั้งข้อสังเกตถึงแนวทางความเป็นไปได้ว่า ในการที่จะเป็นมหาวิทยาลัยเสมือนจริงนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงในเรื่องของงบประมาณสูงแล้ว ประเด็นที่สำคัญที่สุด จะต้องเข้าใจในโครงสร้างของระบบให้ดีเสียก่อน และก่อนที่จะเริ่มต้นนั้นควรที่จะต้องสร้างจินตนาการให้ได้ว่าเราต้องการอะไร เพราะบทสรุปที่ผ่านมาพบว่า การพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือนั้นจะไปเร็วกว่าการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ทำให้เกิดช่องว่างที่จะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพได้หรือที่เรียกว่าการตกเป็นทาสเทคโนโลยีพร้อมกันนี้ ก็ยังมีข้อถกเถียงว่านักศึกษาที่เรียนจบจากระบบนี้ จะมีศักยภาพเทียบเท่าผู้ที่เรียนในมหาวิทยาลัยธรรมดาหรือไม่ เพราะข้อจำกัดในเรื่องการทำกิจกรรมร่วมกันของนักศึกษาไม่สามารถทำได้เหมือนกับมหาวิทยาลัยธรรมดา รวมไปถึงบทบาทของอาจารย์ผู้สอนที่จะสามารถตอบสนองกับระบบใหม่นี้ได้มากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ ส่วนใหญ่มองว่าการเรียนการสอนในลักษณะมหาวิทยาลัยเสมือนเป็นเรื่องที่ดี ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนอย่างเต็มที่ ทุกอย่างเบ็ดเสร็จอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ซึ่งถ้ามองจากระบบแล้ว สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับการเรียนการสอนทางไกลที่มีลักษณะเป็นการสื่อสาร 2 ทาง ผู้เรียนผู้สอนสามารถโต้ตอบกันโดยตรงได้ทันทีพร้อมกันหลายจุด ที่สนับสนุนการใช้ Multimedia แต่ทว่าในแง่ของการริเริ่มที่จะนำไปสู่รูปธรรมนั้น ส่วนใหญ่มองว่ายังต้องศึกษาในรายละเอียดอีกมากนายไพบูรณ์ กล่าวต่อว่า ทางคณะอาจารย์ของสาขานิเทศศาสตร์ได้ทำแบบจำลองการเรียนการสอน สาขาวิชานิเทศศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเสมือนขึ้นมา เพื่อต้องการสร้างเป็นกรอบความคิดในการที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยในเบื้องต้นจะนำผลการประชุมวิชาการที่ผ่านมาในการประมวลแนวคิดพื้นฐานว่าควรที่จะพัฒนากรอบความคิดออกไปอย่างรวมถึงข้อเท็จจริงในเรื่องของเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับระบบการศึกษาเมืองไทย หลังจากที่ได้ข้อสรุปเรียบร้อยแล้ว ก็จะเสนอให้ทางคณะนิเทศศาสตร์อนุมัติเป็นแผนการเรียนการสอนของทางคณะต่อไป
            การพัฒนามหาวิทยาลัยเสมือนจริงในประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ โดยมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของไทย ได้กำหนดนโยบายและเริ่มมีการพัฒนามหาวิทยาลัยเสมือนจริงกันอย่างแพร่หลาย เช่น
           
            มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เริ่มดำเนินการเรื่อง Virtual University โดยการผลักดันให้มีการพัฒนา คณาจารย์ในการเรียนรู้ เพื่อให้มีความเข้าใจกับเรื่องสารสนเทศก่อนที่จะเข้าสู่ระบบ Virtual University ซึ่งปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ได้ใช้ระบบการเรียนการสอนผ่านระบบ VDO Conference ระบบการเรียนการสอนแบบ ซิงโครนัส Synchronous Instruction และ อะซิงโครนัสAsynchronous มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Instruction ซึ่งผลการเรียนของนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จังหวัดสกลนคร จะได้รับผลดีกว่าที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ในวิชาเดียวกัน นอกจากนี้ อาจารย์มีการปรับกระบวน การสอนที่ดีมากขึ้น ส่วนในเรื่องของอะซิงโครนัส จะเน้นการเรียนรู้แบบ Interactive Learning นอกจากนี้แล้ว ยังมีระบบการสืบค้นข้อมูลผ่าน Internet ซึ่งทำให้นิสิตมีการค้นคว้าความรู้ใหม่ขึ้นมา มีการศึกษาด้วยตนเองจาก ระบบต่าง ๆ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้สร้างปัญญาให้กับผู้เรียนมากยิ่งขึ้น

            มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมีประสบการณ์ทางด้านนี้พอนมควร และได้พยายามทำ Courseware เพื่อให้นักศึกษาได้นำมาใช้ประโยชน์ ปรากฏว่านักศึกษามีความสนใจในระยะแรก และเมื่อประเมินผลการใช้ Coursewareแล้ว ได้รับผลดีในบางวิชาทางด้านแพทย์ ส่วนทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น ผลที่ออกมาไม่ได้รับความสนใจจากนักศึกษาเท่าที่ควร และมหาวิทยาลัยยังได้จัดทำโครงการ Mahidol University Campus
Network จะมีเครือข่ายเชื่อมมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลพญาไท ซึ่งก็ได้รับผลดี

            สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ขณะนี้ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์กำลังมีแนวทางที่จะจัดหลักสูตร Virtual University ร่วมมือกับต่างประเทศ โดยกำลังศึกษารูปแบบที่เป็นไปได้ และมหาวิทยาลัยสนับสนุนให้มีการจัดอบรมความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ให้กับคณาจารย์ ซึ่งต้องมาวิเคราะห์ว่าจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ และสัมฤทธิผล วิธีการเลือกวิชาและปรับกระบวนการเลือกวิชา เป็นการปรับปรุงกระบวนการทั้งหมด โดยนำวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนมาเป็นหลักพร้อม ทั้งพัฒนาสื่อต่าง ๆ ให้สอดคล้องกัน ปัญหาที่พบคือ การเรียนทางสื่อนักศึกษาทุกคนต้องมีคอมพิวเตอร์นั้นไม่สามารถ ทำได้ทุกคน หากจะสอนใน Campus ก็ต้องมาจัดจำนวนคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกัน

            มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ดำเนินการใน 3 เรื่อง Web-based instruction และระบบ CAI ในขณะนี้ได้ทำชุดบทเรียนที่เป็น Web-based instruction สำหรับหลักสูตรปริญญาโทจำนวน 3 วิชา โดยจะเน้นหนักทางด้านศึกษาศาสตร์ และต่อไปกำลังจะนำรายการวิทยุและรายการโทรทัศน์ประกอบชุดวิชา มาแปลง เป็นระบบ VDO on demand ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไปที่จะดำเนินการ ส่วนในเรื่อง Web-based instruction หรือใน เชิงของการใช้ Web technology เข้ามาเป็นสื่อเสริม เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอนให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพและปฏิสัมพันธ์ให้กับนักศึกษา และการทำ courseware ต่าง ๆ ในรูปแบบของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
            จากการประชุมเรื่อง Virtual Education Forum เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2544 พบว่าพัฒนามหาวิทยาลัยเสมือนจริงในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อยู่ในระหว่างดำเนินการและได้ประสบปัญหาในการพัฒนาและจัดการรูปแบบการบริหารจัดการระบบ Virtual University ซึ่งสรุปได้ดังนี้
            1. มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ของรัฐได้มีการเริ่มพัฒนาระบบการเรียน การสอนแบบออนไลน์มากขึ้น ทั้งยังมีโครงข่ายการเรียนการสอนทั้งแบบ Synchronous และการเรียนการสอนแบบ Asynchronous และระบบ VDO Conference ซึ่งระบบต่าง ๆ ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนาในแต่ละมหาวิทยาลัย
            2. การพัฒนาระบบ Virtual University ต้องคำนึงถึงงบประมาณในการพัฒนา เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารของมหาวิทยาลัยอย่างเต็มที่
            3. ระบบ Virtual University บางมหาวิทยาลัยยังเป็นเพียงแนวความคิดริเริ่ม ซึ่งยังไม่มีการดำเนินงาน อย่างจริงจัง เนื่องจากยังขาดความเข้าใจในระบบดังกล่าว และระบบ IT ยังมีน้อย
            4. ต้องมีมาตรการหรือเป้าหมายเพื่อพัฒนา และใช้แนวความคิดในการพัฒนาผู้สอนโดยทำความเข้าใจ ระบบการศึกษาทางไกลระบบต่าง ๆ ให้กับคณาจารย์ผู้สอน เพื่อให้เกิดทัศนะคติที่ดีและเกิดการยอมรับ
            5. รูปแบบการเรียนการสอนในระบบการศึกษาทางไกล จะมีผลกระทบต่อการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง อาจารย์ผู้สอนกับผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนต้องการที่จะพบผู้สอนมากกว่าที่ต้องฝึกทักษะกับคอมพิวเตอร์
            6. การวัดผลการเรียน และการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระหว่างการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ กับระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนนั้น ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ส่วนการเรียนการสอนแบบไม่จำกัดเวลา พบว่าประสิทธิภาพการเรียน การสอนอยู่ในระดับดีพอสมควร
            7. วัฒนธรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่สามารถคาดหวังได้ว่าผู้เรียน มีการรับรู้จากระบบนี้มากน้อยเพียงใด
            8. ในส่วนของอุปกรณ์การเรียนในหลาย ๆ ระบบดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ส่วนใหญ่ยังมีอุปกรณ์ไม่พร้อม และมีความล้าหลังของเทคโนโลยี ซึ่งต้องมีการปรับปรุง อีกทั้งสัญญาณเครือข่ายบางพื้นที่ ยังไม่สะดวกที่จะดำเนินการในระบบดังกล่าว
            จากแนวคิดเรื่องมหาวิทยาลัยเสมือนจริงความเป็นไปได้คงไม่ได้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของทางมหาวิทยาลัยเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากการเรียนการสอนระบบนี้ ผู้เรียนจะต้องมีคอมพิวเตอร์อยู่ที่บ้านด้วย ในการตั้งข้อสังเกตที่ว่า ความพร้อมของผู้เรียนในแต่ละพื้นที่ต่างจังหวัดแตกต่างกันไป เพราะฉะนั้น การที่จะนำแนวคิดมหาวิทยาลัยเสมือนมาใช้ ยังต้องศึกษาตลาดผู้เรียนในแง่ของกำลังความสามารถที่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเองมิฉะนั้นแล้วผลที่ได้อาจจะไม่คุ้มกับที่เสียไปดังที่เป็นมาแล้วหลาย ๆ โครงการ

แนวโน้มของมหาวิทยาลัยเสมือนจริง
            การเปลี่ยนแปลงในการใช้เทคโนโลยีโดยการศึกษาเป็นสิ่งที่ทำนายได้ยากในอนาคต อย่างไรก็ตามอีก 5 ปีข้างหน้า จะเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นอินเตอร์เน็ต หรือ www (World Wide Web) การสอนแบบบรรยายจะลดบทบาทลง และการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์โดยใช้คอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายจะเป็นเรื่องปกติในการเรียนการสอน และการขยายตัวของธุรกิจจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนประสบความสำเร็จมากขึ้น อย่างไรก็ตามการลงทุนด้านการเงินของบริษัทธุรกิจอาจทำให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์และอาจจะมีผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของธุรกิจนั้นได้ ในส่วนของผู้เรียนจะมีประชากรของผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น และแต่ละคนจะมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ทั้งในที่ทำงานและที่บ้านได้ สิ่งที่จะช่วยผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง (Continuing education) นั่นก็คือการศึกษาผ่านเทคโนโลยีชั้นสูงนั่นเอง (High technology)
            สำหรับแนวโน้มของการศึกษาระดับอุดมศึกษา (Higher education) ในอีก 30 ปีข้างหน้า Peter Drucker ผู้เชี่ยวชาญด้านให้คำปรึกษาการจัดการและนักเขียน ได้กล่าวว่า (Lenzner and Johnson, 1997 อ้างถึงใน Roy Rada, 2001)
            Thirty year from now the big university campuses will be relics…It’s as large a change as when we first got the printed book. Do you realize that the cost of higher education has risen as fast as the cost of health care?…Such totally uncontrollable expenditures. Without any visible improvement in either the content or the quality of education, means that the system is rapidly becoming untenable.
            ในบทที่ 10 “Around the corner” ในหนังสือ The Virtual University : The Internet and Resource Based Learning ซึ่ง Steve Ryan และคณะ (2000) ได้กล่าวถึง อนาคตของการศึกษา ว่าการพัฒนาเทคโนโลยีอนาคตจะมองถึง
-          the creation of seamless systems;
-          intelligent agents;
-          electronic publishing;
-          universal systems for “managing knowledge”;
-          Virtual reality amd virtual presencing.
ซึ่งใน The creation of seamless systems ได้กล่าวถึง Databases to do with curricula may be accessed by
-          นักเรียนปรารถนาที่จะรู้เกี่ยวกับรายวิชาและการเข้าถึงแหล่งข้อมูล
-          บุคลากรทางการศึกษาต้องการที่จะพัฒนารายวิชา


            - บุคลากรที่มีส่วนในการรับผิดชอบในเรื่องการจัดหลักสูตร การตรวจสอบคุณภาพ การจัดตารางเวลา และการจัดแหล่งข้อมูล
-          ผู้มาเยือนมหาวิทยาลัยต้องการจะรู้ถึงสิ่งที่จะได้รับ
-          บุคลากรในการจัดการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ หรือวิชาเฉพาะด้าน
-          สถาบันอื่น ๆ เข้ามามีส่วนในการทำโครงการร่วมกัน
Intelligent agent จะมีส่วนช่วยในการค้นหาและกลั่นกรองแหล่งข้อมูล ข่าวสารรวมทั้งการสรุปความและแปลความ โดยพัฒนาการเรียนการสอนให้เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Individualized) และสนับสนุนการพัฒนาการสอนและรายวิชาต่าง ๆ
Electronic publishing ทำให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางเว็บจะเป็นเรื่องปกติ ข้อมูลจะถูกพิมพ์ออกมาได้ตามความต้องการ ซึ่งในอนาคตอาจเป็นยุคของ “paperless paper” โดยมีการใช้แผ่นพลาสติกบางที่สามารถปรากฏข้อมูลได้ มีการจัดเก็บโดยใช้ Digital Storage, e-paper จะถูกพัฒนาโดยบริษัท Xerox (http://wwwparc.xerox.com/epaperจะเกิดการสื่อสารแบบไร้สายมากขึ้น มีการนำระบบ Digital เข้ามาใช้ในระบบโทรคมนาคม
Universal systems for “managing knowledge” ระบบข้อมูลและเครื่องมือจะถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างหลากหลายโดย Intelligent agent เพื่อให้ความรู้ในเรื่องโลกธุรกิจ “ความรู้ในเรื่องการจัดการ” การพัฒนาระบบเพื่อให้มีข้อมูลที่มากมาย แก่นของความรู้จะทำให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยตนเองและการมีส่วนร่วมในทางที่จะก่อให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ผู้คนและองค์กรจะเกิดความต้องการในการสื่อสาร การร่วมมือกัน และการค้ากับผู้อื่นในสภาวะแวดล้อมที่เปิดกว้าง
Virtual reality and virtual presencing การใช้ภาพ 3 มิติในการนำเสนอ ความเป็นไปได้กับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น การใช้เลเซอร์ยิงให้เกิดภาพ 3 มิติ (laser holographic projections) ซึ่งได้มีการศึกษาและพัฒนาคล้ายกันนี้ที่ MIT’s Media Lab (http://www.medialmit.edu/).
นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543) ได้แนวโน้มของการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเสมือนจริง จะมีการนำเอาเทคโนโลยี สารสนเทศใหม่ ๆ เข้ามาใช้มากขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดภาระงานและขั้นตอนที่ซับซ้อนของการนำเสนอเนื้อหากระบวนวิชาออนไลน์ การจัดการและบริหารกระบวนวิชาออนไลน์ และสนับสนุนระบบที่ผู้เรียนสามารถควบคุมจังหวะการเรียนของตนเองได้ ซึ่งทิศทางแนวโน้มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ มีดังนี้
1. การใช้เทคโนโลยีเครือข่ายชนิดแบนด์วิธสูง เป็นการประโยชน์จากความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ช่วยให้สามารถนำเสนอข้อมูลชนิดหลายสื่อที่โต้ตอบกันได้ ระหว่างผู้เรียนผู้สอน ณ เวลาจริง และส่งผ่านข้อมูลได้ทีละมาก ๆ เช่น การถ่ายทอดการบรรยายในระบบวิดีทัศน์ที่โต้ตอบกันได้ ณ เวลาจริง (Interactive Video) พร้อมการนำเสนอภาพกราฟิกหรือสื่อการสอนชนิดอื่นได้ และผู้เรียนสามารถถามคำถามหรือสนทนากับผู้สอนได้ ผ่านทางระบบเสียง หรือ ตัวอักษรได้พร้อมกับการบรรยาย
2. การจักการองค์ความรู้ในรูปแบบของโมดูล เป็นการจัดการองค์ความรู้ต่าง ๆ โดยใช้แนวความคิดที่ว่าองค์ความรู้ต่าง ๆ สามารถถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบของระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทันที
3. ระบบการจัดการกระบวนวิชาอันชาญฉลาด เป็นการนำเอาแนวคิดของการใช้ผู้ช่วยเหลืออันชาญฉลาด (Intelligent Agents /System) ซึ่งเป็นแนวความคิดที่แตกแขนงออกมาจากกลุ่มแนวความคิดด้านปัญญาประดิษฐ์(Artificial Intelligence) เพื่อเป็นคล้ายกับผู้ช่วยเหลือทั้งผู้เรียนและผู้สอน เช่น เป็นผู้ช่วยเหลืออัตโนมัติ (Automated Tutoring Tracking System) เป็นผู้ช่วยสอนในการเก็บข้อมูลความคืบหน้า
ของผู้เรียนแต่ละบุคคลโดยอัตโนมัติ (Automated Student Tracking System) หรือเป็นระบบที่สามารถปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการเรียนให้เข้ากับความต้องการเรียนของแต่ละบุคคลโดยอัตโนมัติ (Customization)
            สำหรับแนวโน้มของการเรียนการสอนแบบมหาวิทยาลัยเสมือนจริงในประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดประชุมระดมสมองเรื่อง “Virtual Education Workshop” จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกันสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ซึ่งผลจากการประชุมพบว่า ประเทศไทยจะมีการจัดสมาคม (Consortium) ด้านการศึกษาแบบเสมือนขึ้น เนื่องจากแต่ละองค์กรหรือสถาบันเองต่างก็มีข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ กัน ซึ่งหากมีสมาคมทางด้านนี้โดยตรง จะทำให้เกิดความร่วมมือและแบ่งปันทรัพยากรและความรู้ซึ่งแต่ละองค์กรมีอยู่ไม่เหมือนกันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
            จากการศึกษาค้นคว้าแนวโน้มของ Virtual University ดังปรากฏข้างต้น สรุปได้ว่า
            แนวโน้มของ Virtual University นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำนายได้ว่าในอนาคตนั้นจะเป็นไปอย่างไรแต่สิ่งที่น่าจะคาดเดาได้นั่นคือ จะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในวงการการศึกษามากขึ้นและมีความหลากหลาย โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางด้านเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์การสื่อสารและโทรคมนาคม องค์กร เพื่อให้ผู้เรียนซึ่งไม่จำกัดเพศ อายุ การศึกษา ได้มีโอกาสในการเข้ารับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และตลอดชีวิต และสามารถกำหนดเวลาเรียน วิชาที่ต้องการเรียนได้ตามความต้องการของตน โดยไม่จำกัดสถานที่ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีทักษะ และความรู้ในการทำงาน หรือแม้แต่ผู้ที่ทำงานแล้วก็จะสามารถเรียนรู้ได้ผ่านองค์กร บริษัทของตน ที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและต้องการพัฒนาบุคลากรในองค์กร บริษัท ให้มีความรู้ความสามารถในการทำงาน โดยการเรียนรู้ผ่านเว็บของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการศึกษาได้พัฒนาความรู้ ความสามารถของตนเอง สามารถบริหารและจัดการเรียนการสอน การให้บริการและคำปรึกษา และช่วยเหลือผู้เรียนที่ประสบปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
            นอกจากนี้ ข้อกำหนดในกฎหมายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะมีผลถึงแนวโน้มความต้องการ ศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ได้กำหนดให้รัฐต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิ และมีความเสมอภาคกันใน การรับการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี และการศึกษาขั้นพื้นฐานศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 12 ปี จะมีผลทำให้ความต้องการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ต้องมีการพิจารณาถึงรูปแบบ และแนวทางในการตอบสนองที่เพิ่มขึ้น


แนวโน้มของ Web-based Instruction
            Web-based Instruction คือ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตมาออกแบบและจัดระบบการเรียนการสอน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้ทุกที่ทุกเวลา
            เราสามารถมองแนวโน้มของ Web-based Instruction ออกเป็นหลาย ๆ ด้านดังนี้
1.      เป้าหมายของ Web-based Instruction แบ่งออกเป็น 2 คุณลักษณะคือ
1.1  คุณลักษณะหลัก (Key Features) เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บทุกโปรแกรมผู้เรียนสามารถเข้าเรียนตามที่ตนเองต้องการและผู้เรียนยังสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทั่วโลก
1.2  คุณลักษณะเพิ่มเติม (Addition Features) เป็นคุณลักษณะประกอบเพิ่มเติมซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพและความยากง่ายของการออกแบบเพื่อนำมาใช้งานและการนำมาประกอบกับคุณลักษณะหลักของโปรแกรมการเรียนการสอนผ่านเว็บ Web-based Instruction ยังเป็นการศึกษาที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งตอบสนองตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลก็สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้อีกด้วย
2.      บทบาทของ Web-based Instruction จะไม่เพียงแต่ขยายโอกาสทางการศึกษาเท่านั้นแต่จะมี บทบาทในการเพิ่มโอกาสให้บุคคลได้พัฒนาความรู้และประสบการณ์กว้างขวางขึ้นอีก จะช่วยส่งเสริมทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียนและการศึกษานอกระบบ อีกทั้งยังมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการศึกษาทางไกล จากงานวิจัยเรื่อง แนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปีพ.. 2552 (สถาพร จัทรเรนทร์,2542) จะนำการ Chat เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ในกรเรียนทางไกล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสอบถามเรื่องที่ไม่เข้าใจได้ในทันที
3.      กลุ่มเป้าหมายของ Web-based Instruction ในปัจจุบันยังเป็นกลุ่มเป้าหมายในระดับนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้มีการพัฒนารูปแบบหลาย ๆ ด้านของ Web-based Instruction เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกกลุ่มทุกเพศทุกวัย โดยมีการเริ่มพัฒนาเป็นอินเตอร์เน็ต ตำบล และหมู่บ้านเพิ่มขึ้นทำให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเป็นได้ทุกกลุ่ม
4.      การยอมรับ Web-based Instruction ของครูและอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ต้องยอมรับว่าปัจจุบัน Web-based Instruction ยังเป็นนวัตกรรมทางการเรียนการสอนอยู่แต่ในอนาคตเมื่อมีพัฒนาการของ E-learning และการเรียนทางไกลมากขึ้น การเรียนการสอนผ่านเว็บก็จะเข้าไปมีบทบาททางการศึกษามากขึ้นทำให้ครูและอาจารย์ผู้สอนจะมีวิสัยทัศน์ในการยอมรับการเรียนการ สอน
5.      เนื้อหาและกิจกรรมของ Web-based Instruction จะเป็นการเรียนการสอนแบบติดต่อสื่อสาร 2ทางมากขึ้น และเนื้อหากิจกรรมจะมุ่งสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยจะมีรูปแบบการเรียนการสอนผ่านเว็บหลัก ๆ อยู่ 4 รูปแบบคือ
5.1  รูปแบบการเผยแพร่ (Publishing Model)
5.2  รูปแบบการสื่อสาร (Communication Model)
5.3  รูปแบบผสมผสาน (Hybrid Model)
5.4  ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom Model)
ทั้ง 4 รูปแบบนี้จะมุ่งให้ความรู้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้ผู้เรียนสามารถสร้างประสบการณ์จากการเรียนและสามารถนำไปใช้ได้จริง และถ้าอาจารย์และครูให้ยอมรับการเรียนการสอนผ่านเว็บ การพัฒนาเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเว็บจะพัฒนามากยิ่งขึ้นโดยมีการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียนอื่น ๆ การเรียนการสอนผ่านเว็บการเรียนแบบไม่พบปะ หรือเจอผู้สอนหรือผู้เรียนคนอื่น ๆ โดยแนวโน้มของการออกแบบ WBI จะต้องมีการออกแบบให้ผู้เรียนมีการเรียนแบบร่วมมือโดยการออกแบบการเรียนการสอนจะมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ
1.      Synchronous
เป็นการเรียนการสอนที่มีการนัดเวลา นัดสถานที่ นัดตัวบุคคลเพื่อให้เกิดการเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลา หรือตารางสอน โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในเรื่องการเรียนการสอน ตั้งแต่การนำเสนอบทเรียนของอาจารย์ไปจนถึงการสอนของอาจารย์อาจจะใช้ VDO Conference
2.      Asynchronous
เป็นรูปแบบการรับส่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้รับและผู้ส่งไม่จำเป็นต้องทำงานพร้อมกัน เครื่องมือที่ช่วยในการติดต่อสื่อสาร คือ E-mail การใช้กลุ่มสนทนา (Newsgroup) หรือห้องสนทนา (Chat) จนไปถึง Web Board ซึ่งแนวโน้มของ WBI นั้นที่เป็นการเรียนแบบร่วมมือก็จะมุ่งไปที่การเรียนในรูปแบบของ Synchronousและ Asynchronous เพราะเป็นการเรียนการสอนที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา ซึ่งผู้เรียนจะสามารถเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ ซึ่งเป็นการเรียนแบบตามอัธยาศัย (On Demand) จึงต้องมีการนำเอาความรู้และเทคโนโลยีทางด้านสาระสนเทศมาใช้ในการพัฒนาการสอน รูปแบบ Asynchronous ในทุกด้าน โดยการใช้ทั้ง E-mail, Web Board, Chat, ICQ, Conference และ Electronic Home Work และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีอื่นที่จะติดตามออกมา โดยการสื่อสารแต่ละประเภทมีข้อดี และลักษณะพิเศษดังนี้




       Email
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานใน WBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างเฉพาะ ผู้ที่เป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ผู้อื่นจะไม่สามารถอ่านได้ (Two Way)
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์ หรือเพื่อนร่วมชั้นเรียนด้วยกัน ใช้ส่งการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
       Web board
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานใน WBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน(Three Way)
ใช้กำหนดประเด็นหรือกระทู้ ตามที่อาจารย์กำหนด หรือตามแต่นักเรียนจะกำหนด เพื่อช่วยกันอภิปรายตอบประเด็น หรือกระทู้นั้นทั้งอาจารย์และผู้เรียน
       Chat
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานใน WBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน(Three Way) โดยการสนทนาแบบ Real Time มีทั้ง Text Chat และ Voice Chat
ใช้สนทนาระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ในห้องเรียนหรือชั่วโมงเรียนนั้น ๆ เสมือนว่ากำลังคุยกันอยู่ในห้องเรียนจริง ๆ
       ICQ
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานใน WBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน(Three Way) โดยการสนทนาแบบ Real Time และ Past Time
ใช้สนทนา ระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ในห้องเรียนเสมือนว่ากำลังคุยกันอยู่ในห้องเรียนจริง ๆ โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องอยู่ในเวลานั้น ๆ ICQ จะเก็บข้อความไว้ให้ และยังทราบด้วยว่า ในขณะนั้นผู้เรียนอยู่หน้าเครื่องหรือไม่
       Conference
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานในWBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ และผู้เรียน(Three Way) แบบ Real Time โดยที่ผู้เรียนและอาจารย์ สามารถเห็นหน้ากันได้โดยผ่านทางกล้องโทรทัศน์ที่ติดอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสอนฝ่าย
ใช้บรรยายให้ผู้เรียนกับที่อยู่หน้าเครื่องเสมือนว่ากำลังนั่งเรียน อยู่ในห้องเรียนจริง ๆ


       Electronic Home Work
ความหมาย
ลักษณะการใช้งานในWBI
ใช้ติดต่อสื่อสารระหว่าง ผู้เรียน อาจารย์ เป็นเสมือนสมุดประจำตัวนักเรียน โดยที่นักเรียนไม่ต้องถือสมุดการบ้านจริง ๆ เป็นสมุดการบ้านที่ติดตัวตลอดเวลา
ใช้ส่งงานตามที่อาจารย์กำหนดเช่นให้เขียนรายงานโดยที่อาจารย์สามารถเปิดดู Electronic Home Work ของนักเรียนและเขียนบันทึกเพื่อตรวจงานและให้คะแนนได้ แต่นักเรียนด้วยกันจะเปิดดูไม่ได้

จะเห็นได้ว่าต่อไปในอนาคต ในตัวของ WBI จะมีการใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารของอินเตอร์เน็ตเข้ามาอยู่ในตัว WBI ทั้งหมดทั้งการสื่อสารแบบบุคคลต่อบุคคล (Person to Person) ผู้เรียนกับกลุ่ม (Person to Group) และแบบกลุ่มต่อกลุ่ม ( Group to Group)
6.      การให้การสนับสนุนจากรัฐบาล จากแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จากแนวพระราชบัญญัตินี้จะทำให้รัฐบาลมีการสนับสนุน Web-based Instruction การเรียนการสอนผ่านเว็บอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลต้องการพัฒนาศักยภาพทางการศึกษาของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น เรียนตามอัธยาศัย ซึ่งการเรียนประเภทนี้นอกจากที่ผู้เรียนจะสามารถเลือกเรียนในช่วงเวลาใดได้แล้ว แต่ผู้เรียนยังเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ (Learner Centered) เพราะฉะนั้นการออกแบบ WBI จะต้องให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้มากที่สุด
7.      การเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ (Learner Centered) จะมีการออกแบบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ 2 ลักษณะคือ Objectivist และ Constructivist Objectivist เป็นรูปแบบการสอนที่กำหนดเป้าหมายประสงค์หลักในการเรียนและกำหนดวัตถุประสงค์ย่อยที่จำเป็นในการบรรลุวัตถุประสงค์หลักและพัฒนาเกณฑ์การตัดสินตามวัตถุประสงค์นั้น ๆ การเรียนจะมีรูปแบบขั้นตอนชัดเจนให้ผู้เรียน เมื่อผ่านการเรียนแล้วผู้เรียนรู้จะได้รับผลการเรียนอะไรบ้าง การประเมินจึงเป็นลักษณะเปรียบเทียบผลในวัตถุประสงค์ย่อยและเป้าหมายประสงค์หลัก  Constructivist เป็นการเรียนการสอนอีกลักษณะหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนการสอนมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเติมจากความรู้และประสบการณ์ที่มีมาก่อนของผู้เรียนซึ่งแตกต่างกัน และเน้นบทบาทของแรงจูงใจจากภายในของผู้เรียน ผู้เรียนมีทักษะในการตรวจสอบและควบคุมการเรียนของตนเอง ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนจะอยู่ที่รายบุคคลซึ่งไม่สามารถใช้เพียงเกณฑ์วัดในเชิงปริมาณ
8.      การออกแบบ และพัฒนาการเรียนการสอนผ่านเว็บเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอน นอกจากจะต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนแล้ว รูปแบบของการเรียนการสอนผ่านเว็บที่เหมาะสมสำหรับผู้เรียนก็มีความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างการออกแบบเว็บไซด์และลักษณะเบื้องต้นที่จำเป็นต้องมี โดยเฉพาะรูปแบบของเว็บเพจ ซึ่งเป็นลักษณะของหน้าจอภาพ จะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ
1.      เว็บไซต์แบบยาว มีลักษณะหน้าจอเป็นแถบเลื่อน (Long, Scrolled pages) นั่นคือเว็บเพจจะมีลักษณะหน้าเดียว ยาวจากด้านบนลงล่าง และสามารถเลื่อนจากบนลงล่างหรือเลื่อนจากด้านล่างขึ้นบนได้ด้วย (Scroll Bar) ด้านขวามือของจอภาพ
2.      เว็บแบบสั้น มีลักษณะหน้าจอเป็นหน้าจอเดียวลิงค์ (Shorter, Linked pages) นั่นคือเว็บเพจมีลักษณะหน้าเดียว แต่จำกัดเฉพาะหน้าจอภาพของคอมพิวเตอร์เท่านั้นไม่สามารถเลื่อนลงด้านลบนด้านล่างได้นักการศึกษาเห็นว่าการออกแบบเว็บควรมีพื้นที่หลายเว็บ มากกว่าที่จะเรียนลำดับเนื้อหาอยู่ด้วยกันเพียงหนึ่งหน้า ซึ่งจะต้องเลื่อนลงหรือเลื่อนขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยเนื้อหาควรมีหน้าจอเดียวเรียงหน้าตามลำดับ (Series pages) โดยแต่ละหน้าควรมีขนาดที่ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้ โดยที่ข้อมูลมิได้มีความลึกจนเกินไป ควรมีเพียงหน้าเดียว (Controll Eisenberg, 1997 อ้างถึงใน ปรัชญนันท์ นิลสุขถ้าจะให้โครงสร้างของเว็บมีความเหมาะสมแน่นอน การแสดงข้อมูลในแต่ละหน้าของเว็บจะมีประสิทธิภาพ ถ้ามีการเรียนลำดับของเนื้อหาให้แต่ละหน้าสั้น ๆ (Young and Watkins, 1997 อ้างถึงใน ปรัชญนันท์ นิลสุขความยาวในแต่ละหน้าควรเท่ากับหน้าจอ ข้อมูลสำคัญมีมากเกินกว่าหนี่งหน้าจอภาพก็ให้ไปอยู่ในหน้าต่อไปของอีกเว็บเพจหนึ่ง การออกแบบหน้าจอก็ควรจะเน้นข้อมูลที่สำคัญเท่านั้น (Stover and Zinda, 1996 อ้างถึงใน ปรัชญนันท์ นิลสุขการออกแบบลักษณะนี้มีพื้นฐานมาจากการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งเนื้อหาแต่ละหน้าจอเรียงตามลำดับ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในโปรแกรมที่สร้างขึ้นได้

แนวโน้มการใช้งาน Web-Based Instruction
            ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการนำระบบอินเทอร์เน็ตมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน เช่น การนำมาใช้ในการเรียนทางไกล การใช้เป็นการเรียนเสริมหรือการศึกษาเพิ่มเติม ซึ่งจากกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.. 2544-2553 ประเทศไทย ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการศึกษา (E-education) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้และทักษะด้านเทคโนโลยี โดยมุ่งแน้นการสร้างระบบการบริหารจัดการทรัพยากรศึกษาที่มีประสิทธิภาพเอื้อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ เนื้อหา และความรู้ สถาบันการศึกษาจึงต้องจัดโอกาสและสภาพแวดล้อมให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปตามแนวทางตามความถนัดของตน ส่งเสริมสมรรถภาพให้ผู้เรียนมีความรู้ความคิดและทักษะใหม่เพิ่มมากขึ้นจัดการเรียนการสอนให้หลากหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองวิธีเรียนของผู้เรียนที่แตกต่าง
            ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีพลานุภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา และส่งเสริมการเรียนรู้ ทั้งในระบบ นอกระบบ และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย โดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันแหล่งความรู้ถูกจำกัด ทั้งที่แหล่งความรู้มีมากมาย การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันถูกจำกัดเฉพาะในห้องเรียนและอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับของผู้สอนเท่านั้น ทั้งที่ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคลมีความรู้ความเข้าใจประสบการณ์และการมองโลกแตกต่างกันออกไป รวมถึงรูปแบบการจัดชั้นเรียนในปัจจุบันไม่สามารถที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้ ดังนั้นการเตรียมคนเพื่อให้เข้าไปรองรับกับระบบงานใหม่ในอนาคต เทคโนโลยีจึงเป็นพื้นฐานสำคัญ การเรียนการสอนไม่ควรยึดติดกับวิธีเดิม ในขณะที่สิ่งใหม่หรือสิ่งที่กำลังพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว แหล่งความรู้ไม่ได้อยู่ที่สถานศึกษาอย่างเดียว
            การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web Based Instruction-WBI) จึงตอบสนองการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเป็นการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่ประยุกต์คุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต โดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ในเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) มาเป็นสื่อกลางเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในรูแปบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิง เอกสารประกอบการเรียนบทเรียนสำเร็จรูป หรือแม้กระทั่งหลักสูตรวิชา เนื่องจาก เวิลด์ไวด์เว็บเป็นบริการบนอินเทอร์เน็ตที่มีแหล่งข้อมูลอยู่มากมายและหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง การเคลื่อนไหวหรือเสียง โดยอาศัยคุณลักษณะของการเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ทั้งในรูปแบบของข้อความหลายมิติ(Hypertext) หรือสื่อหลายมิติ (Hypermedia) เพื่อเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน และเป็นการนำประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก นั่นคือมิใช่การสอนที่เป็นการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลายและเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ โดยใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์ ซึ่งสื่อต่าง ๆ เหล่านี้สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรุ้และแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ เพราะข้อมูลบนเว็บมีลักษณะเป็นพลวัตร (Dynamic) ทำให้เนื้อหาการเรียนมีความยืดหยุ่นมากกว่าแบบเดิม และเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของผู้เรียนเป็นสำคัญและเปิดโอกาสให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรให้ทันสมัยได้อย่างสะดวกสบาย




แนวโน้มของการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training)

            อินเทอร์เน็ตกับการฝึกอบรมเป็นความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่มีบทบาทอย่างยิ่งต่อรูปแบบการเรียนรู้ในสังคมยุคใหม่ ซึ่งเป็นยุคที่เป็นโลกของดิจิตอลที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ทุกหน่วยงานต้องการคนที่มีความรู้ ความสามารถ ที่สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่ได้รับให้เป็นความรู้ที่เอื้อประโยชน์ต่อหน่วยงานและสังคมได้ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ย่อมมีผลอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาที่จะต้องผลิตบุคคลให้มีการใฝ่รู้ ใฝ่เรียน และสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องอยู่ตลอด เวลาเพื่อให้อยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข ปรับตัวได้ทันต่อสภาวการณ์รอบตัวได้ รวมทั้งสามารถพัฒนาหน่วยงาน และสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งในปัจจุบันได้มีการจัดการฝึกอบรมในรูปแบบต่าง ๆ มากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องของการฝึกอบรมผ่านเว็บ ซึ่งแนวโน้มจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
            การฝึกอบรมผ่านเว็บ เป็นการฝึกอบรมกิจกรรม องค์ความรู้ และวิชาการต่าง ๆ ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนผ่านทางเวิล์ดไวด์เว็บ ซึ่งผู้เรียนเป็นผู้กำหนด และเลือกการเรียนด้วยตนเองโดยมีวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ชี้แนะ ให้คำปรึกษา สนับสนุน อำนวยความสะดวก ทางด้านแหล่งข้อมูล วิธีการศึกษา และประเด็นในการเรียนรู้ ด้วยการใช้องค์ประกอบและคุณลักษณะและทรัพยากรบนเว็บมาช่วยในการเรียนรู้

รูปแบบของเว็บเพื่อการฝึกอบรม
            การใช้เว็บในการฝึกอบรมก็ต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเว็บเป็นสำคัญเมื่อการอบรมนั้นไม่จำเป็นต้องเดินทางไปอบรมในห้องฝึกอบรม แต่เป็นการฝึกอบรมโดยการสื่อสารทางไกล จะทำอย่างไรให้การฝึกอบรมผ่านเว็บมีคุณภาพและประสิทธิภาพเท่าเทียม หรือดีกว่าการฝึกอบรมในห้องฝึกอบรมอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต ปรัชญนันท์ นิลสุข (2542) ได้กำหนดกรอบคิดหลักของการฝึกอบรมผ่านเว็บ (WBT) ดังรูปที่ 1 ซึ่งจะต้องคำนึงถึงแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1. การฝึกอบรมผ่านเว็บ ในด้านการให้การศึกษา นั่นคือ การฝึกอบรมผ่านเว็บ จะอยู่ในกรอบ 3 ประการคือ
   1.1 เวิล์ด ไวด์ เว็บ (World Wild Web) การฝึกอบรมผ่านเว็บเป็นส่วนหนึ่งของระบบอินเทอร์เน็ตจึงต้องอยู่ในกรอบของเวิล์ด ไวด์ เว็บ
   1.2 การศึกษาทางไกล (Distance Education) การฝึกอบรมบนเว็บเป็นการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในการจัดการศึกษาทางไกล ระบบอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งในกรอบของการศึกษาทางไกล
   1.3 การพัฒนาระบบการสอน (Instructional System Development) การฝึกอบรมบนเว็บอยู่ในกรอบของ WWW เมื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาทางไกล การฝึกอบรมก็ต้องมีการออกแบบและพัฒนาระบบเพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพจึงต้องอยู่ในกรอบของการพัฒนาระบบการสอน
2. การฝึกอบรมผ่านเว็บในด้านการพัฒนาคน นั่นหมายความว่า การฝึกอบรมผ่านเว็บก็จะอยู่ในกรอบ 3 ประการเช่นกัน คือ
    2.1 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคนโดยเว็บเป็นการพัฒนาในยุคสังคมสารสนเทศ ซึ่งภายในเว็บซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นฐานข้อมูลใหญ่ที่สุดในโลก การฝึกอบรมผ่านเว็บจึงเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมสารสนเทศโดยมี WWW เป็นเครื่องมือจึงอยู่ในขอบเขตเดียวกัน
                2.2 การศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) เป็นการฝึกอบรมที่มุ่งให้ผู้อบรมได้เรียนรู้ตามความสนใจในสภาพของเครือข่ายการเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลา ซึ่งอยู่ในการศึกษาในแบบทางไกลจึงอยู่ในขอบเขตเดียวกัน
                2.3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) เนื่องจากการฝึกอบรมเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เน้น 3 ด้าน คือ การฝึกอบรม การศึกษาและการพัฒนา จึงจัดกรอบนี้ในกลุ่มเดียวกับการพัฒนาระบบการสอนซึ่งไม่อาจแยกจากกันได้


            ดิสโคล (Driscoll, 1997) ได้ศึกษาการนำเว็บมาใช้ในการฝึกอบรม มี 2 รายการ คือ แบบที่เป็นตัวหนังสืออย่างเดียว และแบบมัลติมีเดีย ผลการศึกษาการออกแบบการฝึกอบรมเวิล์ด ไวด์ เว็บ พบว่าแบบตัวหนังสืออย่างเดียว มีเครื่องมือ ได้แก่ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) กระดานข่าว (Bulletin Boards) การถ่ายโอนโปรแกรม และแบบมัลติมีเดีย มี 4 ชนิด คือ การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web Computer Based Training : WBT) การฝึกอบรมในหน่วยงาน (Web Based Employee Performance Support : EPSS) การฝึกอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงอบรมต่างเวลากัน (Asynchronous Virtual Classroom) และการอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงอบรมในเวลาเดียวกัน (Synchronous Virtual Classroom) โดยมีตารางความแตกต่างของการออกแบบในรูปของมัลติมีเดีย 4 ชนิด ดังนี้

ตารางที่ 1 การออกแบบรูปแบบการฝึกอบรมตามแนวคิดของดิสโคล

คุณลักษณะ
(Characteristic)
การฝึกอบรมผ่านเว็บ
(Web Computer-Based training : WBT)
การฝึกอบรมในหน่วยงาน (Web-Based Employee Performance Support : EPSS)
การฝึกอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงต่างเวลากัน(Asynchronous Virtual Classroom)
การฝึกอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงเวลาเดียวกัน(Synchronous Virtual Classroom)
เป้าหมาย
จัดหาเป้าหมายและวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน
จัดหาการฝึกปฏิบัติและทักษะการแก้ปัญหาในเวลาที่กำหนด
จัดหากลุ่มการเรียนรู้ต่างเวลาต่างสถานที่
จัดหาการร่วมมือในเวลาเรียนเดียวกันต่างสถานที่

ชนิดของการเรียนรู้
มีโครงสร้างการแก้ปัญหาการถ่ายโอน การเรียนรู้สร้างความเข้าใจ การประยุกต์ใช้
มีโครงสร้างการแก้ปัญหา การวิเคราะห์ สังเคราะห์ สัมพันธ์ภาพการจัดการ เครื่องมือต่าง ๆ
มีโครงสร้างการแก้ปัญหานำมาประยุกต์การแก้ปัญหา การวิเคราะห์ สังเคราะห์ การประเมินผลผลิตจากความคิดใหม่ ๆ ที่รวบรวมได้ มีการวางแผนและผลผลิต
มีโครงสร้างปัญหาการวิเคราะห์ความต้องการการประเมินผลข้อมูลมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิดใหม่ การวางแผนและผลผลิต
บทบาทของผู้ออกแบบการอบรม
ผู้จัดการอบรม,ผู้ควบคุม,ทำนาย,บอกทิศทาง,ติดต่อผู้เข้ารับการอบรม,แนะนำ
ผู้จัดการด้านเนื้อหาวิเคราะห็,ย่อความ,จัดรายการ,จำแนกข้อมูลลงสู่การเรียนรู้แบบบทเรียน
อำนวยความสะดวกในกลุ่มการเรียนรู้,แนะนำการเรียน,จัดหาทรัพยากร,การประเมินผล,การติดต่อกับผู้เรียน
ร่วมมือกันเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน,มีการเรียนรู้ร่วมกัน,เสนอแนะทิศทางการเรียน แต่ไม่กำหนดทิศทางและประเมินผลลัพธ์
บทบาทผู้เข้ารับการอบรม
ผู้เข้ารับการอบรมมีความกระตือรือร้นในการฝึกอบรมใหม่ ๆ การติดต่อผู้สอน
ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ด้วยตนเองโดยตรงกำหนดระดับของรายละเอียด เนื้อหา มุ่งสู่เป้าหมายการเรียนและผลลัพธ์
ผู้สอนให้คำแนะนำเป็นส่วนตัวหรือเป็นกลุ่มมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและได้รับการป้อนกลับข้อมูล
ผู้เข้ารับการอบรมได้รับการร่วมมือในการเรียนตามขั้นตอน กับผู้สอนและเพื่อน ๆ มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบกาารณ์

คุณลักษณะ
(Characteristic)
การฝึกอบรมผ่านเว็บ
(Web Computer-Based training : WBT)
การฝึกอบรมในหน่วยงาน (Web-Based Employee Performance Support: EPSS)
การฝึกอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงต่างเวลากัน(Asynchronous Virtual Classroom)
การฝึกอบรมในห้องอบรมที่เหมือนจริงเวลาเดียวกัน(Synchronous Virtual Classroom)
วิธีการ/
การปฏิสัมพันธ์
การฝึกปฏิบัติการอ่านการถาม การตอบด้วยมัลติมีเดีย ไฮเปอร์เท็กซ์สถานการณ์จำลอง การฝึกหัด การสัมมนา การติดต่อกับผู้สอน
การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การใช้ประสบการณ์การทำโครงการโดยใช้มัลติมีเดีย ไฮเปอร์มีเดีย การสัมมนา การประชุมปรึกษา การเรียนบทเรียนด้วย คอมพิวเตอร์ช่วยสอน,e-mail กับผู้สอนและเพื่อน ๆ
การเรียนแบบประสบการณ์,การประชุมกลุ่มการทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้มัลติมีเดีย ไฮเปอร์เท็กซ์การสัมมนา การประชุมปรึกษาการรับบทเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน e-mail
การอภิปรายกลุ่ม,การแก้ปัญหา,และการปฏิสัมพันธ์สมาชิกโดยใช้การฟังเสียงและดูวีดีโอจากการประชุมของจริง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีจุดประสงค์นิยม (Objectivist) โดยทฤษฎีแนววัตถุประสงค์ มีปรัชญา การได้รับข้อมูลจากภายนอก เกิดความสามารถตามวัตถุประสงค์ และเป็นผลมาจากการสื่อสารการเรียนรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียน การออกแบบควรเน้นที่การจัดการเนื้อหาโดยผู้เรียนและผู้สอนร่วมกัน เป็นการจัดโอกาสให้กับผู้เรียนในการสังเคราะห์ จัดการและจัดสร้างข้อมูลใหม่ให้เหมือนกับการสร้างสรรค์ และสร้างแหล่งข้อมูลของผู้เรียนขึ้นเอง
            2. ทฤษฎีวิศนุกรรมนิยม (Constructivist) เน้นแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ ให้ผู้เรียนเป็นผู้เริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง และแต่ละคนเรียนรู้จากความรู้และประสบการณ์ที่มีอยู่ มุ่งเน้นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียน ที่จะต้องประกอบไปด้วยโครงสร้างและการจัดการการออกแบบโปรแกรมการเรียนที่เหมาะสม การมีส่วนร่วมของผู้เรียนหรือผู้ปฏิบัติที่มีต่อผู้สอนโดยออกแบบให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
            3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) การเรียนแบบร่วมมือ เกิดจากแรงผลักดันสองประการคือ ชีวิตภายนอกห้องเรียน จำเป็นต้องมีกิจกรรมที่ร่วมมือกัน โดยการใช้ทีมงานในการทำงานในชีวิตประจำวัน อีกประการหนึ่งคือ การรู้คุณค่าของปฏิสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายขึ้น โดยที่การเรียนแบบร่วมมือ เน้นการเรียนเป็นกลุ่มเล็ก 4-6 คน สมาชิกในกลุ่มมีความสามารถคละกัน มีองค์ประกอบสำคัญ 5ประการ ได้แก่
               3.1 ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในทางบวก (Positive Interdependent) หมายถึง สมาชิกทุกคนทำงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน มีส่วนร่วมในการทำงานโดยมีบทบาทต่าง ๆ กัน ในการ
ทำงาน สมาชิกในกลุ่มจะมีความรู้สึกว่าตนจะประสบผลสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จด้วย จึงเน้นความสำเร็จร่วมกัน
               3.2 การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (Face to Face Interaction) หมายถึง สมาชิกต้องให้ความสนใจพร้อมที่รับฟัง และเสนอความคิดเห็นต่อกลุ่ม
               3.3 ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล (Individual Accountability) หมายถึงสมาชิกทุกคนในกลุ่มมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการค้นคว้าทำงาน ต้องเรียนรู้ในสิ่งที่เรียนเหมือนกัน
               3.4 การใช้ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะการทำงานกลุ่ม (Interpersonal and Small Group Skills) หมายถึง สมาชิกทุกคนต้องได้รับการฝึกทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่ม เพื่อให้การทำงานของกลุ่มประสบความสำเร็จ
               3.5 กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processes) หมายถึง มีลำดับขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่มที่วางไว้

            บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ (2540) ได้กล่าวถึงการฝึกอบรมผ่านเว็บมีการนำเอาทฤษฎีวิศนุกรรมนิยม (Constructivism) เป็นทฤษฎีที่ถูกนำมาใช้ในเวิล์ด ไวด์ เว็บ มากในปัจจุบัน โดยการเน้นจุดหลัก 2 ประการ คือ
            1. มีเครื่องมือที่ดีในการสร้างความรู้ (good learning material) คือ มีเครื่องมือที่เด็กสามารถมีการแสวงหาความรู้ได้ เป็นลักษณะของการเรียนแบบตัวต่อตัว (Interactive teaching) ซึ่งแต่ละคนจะมีความสนใจไม่เหมือนกัน มีความถนัด และความเชี่ยวชาญไม่เหมือนกัน เช่น โปรแกรมเลโก้ (Lego Logo) โปรแกรมภาษาจาวา (Java) ในการเขียนข่าว (Electronic Newspaper) โปรแกรมไมโครเวิลด์ (Micro world) ในการสร้างความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น จะเป็นเครื่องมือในการรับรู้และเกิดการคิด (Powerful Learning) เกิดการเรียนรู้ (Learning how to learn)
            2. มีบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่ดีในการเรียนรู้ที่ดี (good learning environment) ผู้เรียนต้องมีทางเลือกหลาย ๆ ทาง มีการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีความเป็นกันเองในห้องเรียน และถ้าห้องเรียนมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้เรียนก็จะมีความเก่งขึ้น มีการแบ่งปันประสบการณ์กัน
แนวโน้มของการฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-Based Training)
            แนวโน้มของการศึกษาในศตวรรษใหม่ ที่กำลังได้รับการกล่าวถึงในแทบทุกการประชุมระดับนานาชาติ คือการจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือรู้จักกันในนามการศึกษาข้ามชาติ (Transnational Education) สำหรับประเทศไทยก็ได้มีการเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับแนวโน้มดังกล่าว โดยทบวงมหาวิทยาลัยภายใต้นโยบายสารสนเทศได้ดำเนินการวางโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสารโทรคมนาคมซึ่งเกื้อหนุนต่อระบบการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เครือข่ายระยะไกล (Wide AreaNetwork) และสนับสนุนการจัดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network) ให้กับสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัย และโรงเรียนทั่วประเทศ การเตรียมการโครงสร้างพื้นฐานทางโทรคมนาคมดังกล่าวเป็นเพียงการสร้างช่องทางการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์เครือข่ายให้มีโอกาสเป็นจริงขึ้นได้ หากแต่ประโยชน์ทางการศึกษาจากเครือข่ายจะเกิดขึ้นอย่างสูงสุดหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ที่จะต้องเป็นไปในลักษณะก้าวหน้า กล่าวคือเครือข่ายควรจะต้องมีสถานะเป็นช่องทางการสื่อสาร (Channel of Communication) เพื่อการศึกษาที่ผู้ใช้ไม่เพียงแต่เป็นผู้รับ แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการสร้างและสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับผู้อื่นด้วย นอกจากนั้นจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .. 2545 ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ทั้งในหมวดที่ 4 และในหมวดที่ 9 โดยในหมวดที่ 4 ได้ระบุไว้ในเรื่องของแนวการจัดการศึกษา ซึ่งในมาตรา 22 ได้กล่าวไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ซึ่งตรงจุดนี้เองที่การเรียนการสอนโดยเฉพาะการอบรมผ่านเว็บจะนำมาใช้ตอบสนองต่อเจตนารมณ์ในข้อนี้ได้อย่างดีที่สุด นอกจากนั้นในมาตรา 23 เรื่องการจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยนั้น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านระบบเวิล์ด ไวด็ เว็บ สามารถนำมาใช้ได้อย่างเป็นกระบวนการและนำมาบูรณาการได้เป็นอย่างดีและน่าจะมีประสิทธิภาพสูงอีกด้วย ถัดไปในมาตรา 24 วงเล็บหก (6) ซึ่งกล่าวว่าต้องจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ดังนั้นจะมองได้ในแง่ที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตจะตอบคำถามข้อนี้ได้อย่างตรงประเด็น เมื่อไล่เรียงตามลำดับมาจนถึงมาตรา 66 จากหมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งกล่าวถึงสิทธิของผู้เรียนที่จะได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ และเพื่อให้เกิดการศึกษาและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยสรุปแล้วอินเทอร์เน็ตสามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ในการนี้ได้อย่างดี และมีประสิทธิภาพอีกด้วย
            แนวโน้มของการฝึกอบรมผ่านเว็บ จะมีการรวมเอาเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างและทรัพยากรเข้าไว้ด้วยกัน โดยแนวทางพื้นฐานในการให้ข้อมูลและการวิจัยแก่ผู้เรียนและครูที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ สาขาวิชา ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนผ่านการปฏิสัมพันธ์แบบร่วมมือกับที่ปรึกษา และคนที่มีตำแหน่งเท่ากัน รวมทั้งให้แนวทางแก่องค์กรในการพัฒนา จัดการกับข้อมูลและโมดูลการฝึกอบรมที่เหมาะสมอย่างรวดเร็ว โดยแนวโน้มของการฝึกอบรมผ่านเว็บจะออกมาในรูปแบบดังต่อไปนี้
            1. มีการปรับเปลี่ยนจากทฤษฎีแนวจุดประสงค์นิยม (Objectivism) มาเป็นทฤษฎีแนววิศนุกรรมนิยม (Constructivism) โดยที่ทฤษฎีแนวจุดประสงค์นิยม (Objectivist) มีปรัชญาการได้รับข้อมูลจากภายนอก มีความเป็นอิสระ เกิดความสามารถตามวัตถุประสงค์ และเป็นผลมาจากการสื่อสารการเรียนรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียน โดยเน้นการประเมินและการมอบหมายงานตามวัตถุประสงค์ การใช้หนังสือและสื่อที่เลือกไว้ก่อนแล้ว และใช้ผู้สอนในการเตรียมสื่อและหลักสูตร และการใช้ระบบเกรดสำหรับการ


















แนวโน้มแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
1.ความหมาย
            แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning resource center) หรือ ศูนย์สื่อการศึกษา (Educational media center) หมายถึง หน่วยงานส่วนกลางที่ให้การสนับสนุนส่งเสริมการจัดสภาพการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดเก็บ การให้บริการ การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้ การให้คำปรึกษา รวมถึงการจัดบริเวณที่เป็นสัดส่วนสำหรับความต้องการในการใช้สื่อบางประเภท (UNESCO, 1987 อ้างถึงใน รัตนาภรณ์ ประวัติวัชรา, 2539)
            ปรัชญาและเป้าหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
            1. เพื่อให้การศึกษา การบ่มเพาะกล่อมเกลา และช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้กับผู้สนใจไม่จำกัดความสามารถหรือพื้นฐานการศึกษาไม่ว่าจะเป็นใครก็สามารถเข้าไปแสวงหาความรู้ได้เท่าเทียมกัน
            2. เพื่อบริการสารสนเทศ ช่วยให้ผู้เข้ามาใช้บริการได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์
            3. เพื่อวัฒนธรรมโดยเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่วัฒนธรรม และเป็นแหล่งส่งเสริมการมีส่วนร่วม และความทราบซึ้งในศิลปวัฒนธรรม
            4. เพื่อพักผ่อนและนันทนาการ แหล่งการเรียนรู้มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อการพักผ่อนและนันทนาการที่ดีที่สุดประการหนึ่งในท้องถิ่น เป็นการช่วยให้ประชาชนได้ใช้เวลาว่างเพื่อการอ่านและแสวงหาความรู้ต่าง ๆ
            ชื่อเรียกต่าง ๆ ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
            แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาของไทยในปัจจุบันมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปแล้วแต่สถาบัน (ไชยยศ เรืองสุวรรณ,2526 อ้างถึงใน รัตนาภรณ์ ประวัติวัชรา,2539) เช่น ศูนย์วิชาการสำนักวิทยาบริการ ห้องสมุด สำนักเทคโนโลยีการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา ศูนย์เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ศูนย์แหล่งการเรียน ศูนย์บริการโสตทัศนศึกษา เป็นต้น ซึ่งหากพิจารณาตามนิยายว่าหน่วยงานใดจัดเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้นั้น นอกจากจะพิจารณาจากการรวบรวมสื่อหลากหลายประเภทแล้ว ยังจะต้องมีการจัดระบบทรัพยากรการเรียนรู้ที่ดี โดยวางแผนดำเนินการและประเมินผลที่ชัดเจน

2. ตัวอย่างของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
แหล่งการเรียนรู้ภายในโรงเรียน แบ่งเป็น
1. แหล่งการเรียนรู้ในอาคารเรียน ได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดหมวดวิชา ห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องศูนย์วิชา ห้องวัฒนธรรมไทย ศูนย์สื่อฯพัฒนาการเรียนการสอน เป็นต้น
2. แหล่งการเรียนรู้นอกอาคาร ได้แก่ สวนสมุนไพร สวนวรรณคดี สวนสุขภาพ สวนธรรม สวนหนังสือ สวนป่า อุทยานวิทยาศาสตร์ ศาลานักอ่าน สวนพฤษศาสตร์ เป็นต้น
3. แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นแหล่งการจัดกิจกรรม แหล่งบริการต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านการจัดกิจกรรมให้ความรู้ เสริมหลักสูตรในรูปของชุมชน เป็นต้น
แหล่งการเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน แบ่งเป็น
     แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติทางภูมิศาสตร์ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ลำธาร น้ำตก ทะเลสาบ ภูเขา ป่า อุทยาน สัตว์ป่า สภาพแวดล้อมรอบตึก เป็นต้น
     แหล่งการเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีการดำรงชีวิต เช่น ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้นำองค์กรท้องถิ่น ผู้นำทางศาสนา นักวิชาการของหน่วยงานราชการ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อ เป็นต้น
     แหล่งการเรียนรู้ที่สังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้แก่
-          ห้องสมุดประชาชน 801 แห่ง (ห้องสมุดประชาชนจังหวัด 73 แห่ง ห้องสมุดประชาชนอำเภอ 656
แห่ง ห้องสมุด เฉลิมราชกุมารี” 71 แห่ง หอสมุดรัชมังคลาภิเษก 1 แห่ง และห้องสมุดเคลื่อนที่อีกจำนวนหนึ่ง
-          ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าง 35,289 แห่ง
-          ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน จำนวนละ 1 แห่ง (ปัจจุบันประมาณ 5,870 แห่ง)
-          ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาและเครือข่าย 16 แห่ง
-          ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาและศูนย์ผลิตสื่อประจำภาพ 6 แห่ง
-          สวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 11 แห่ง
     แหล่งการเรียนรู้ที่สังกัดกรมศิลปากร ได้แก่
-          พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และประจำจังหวัด (จดทะเบียนราว 270 แห่ง)
-          หอสมุดแห่งชาติและจดหมายเหตุ
-          ศูนย์ศึกษา แหล่ง และอุทยานประวัติศาสตร์
     แหล่งการเรียนรู้ที่สังกัดกรมศาสนา ได้แก่วัดและศาสนสถานทั่วประเทศซึ่งมีประมาณ 8,000 แห่ง

3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อทิศทางและแนวโน้มของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
1.      ปัจจัยในระดับนานาชาติ
1.1  พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.2  ความร่วมมือด้านวิชาการในระดับนานาชาติ
2.      ปัจจัยภายในประเทศไทย
2.1  ข้อกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 หมวด 9 : เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2.2  นโยบาย “หนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนสมบูรณ์แบบ
2.3  โครงการคอมพิวเตอ์เอื้ออาทร
2.4  แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.. 2545-2549


4. แนวโน้มของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
            1. ในภาพรวมของประเทศจะมีจำนวนแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น และกระจายไปทั่วทั้งประเทศในเวลาอันรวดเร็ว รวมถึงรูปแบบแหล่งการเรียนรู้ใหม่ ๆ
            ในปัจจุบันนี้สถานที่ที่จัดได้ว่าเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มีอยู่เฉพาะในสถานศึกษาที่มีความพร้อม เนื่องจากการเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จะต้องประกอบด้วยการรวบรวมสื่อหลากหลายประเภทและต้องมีการจัดระบบทรัพยากรการเรียนรู้ที่ดี โดยวางแผนดำเนินการและประเมินผลที่ชัดเจน ดังนั้นห้องสมุดของโรงเรียนที่มีอยู่จึงมีองค์ประกอบไม่เพียงพอที่จะจัดเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้
            ลักษณะของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่จะเกิดขึ้น
2. การจัดตั้งแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์ เป็นต้น จะมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการเอื้อของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 โดยจะมีการสร้างให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีความพร้อมและศักยภาพในการเรียนรู้ อีกทั้งจากโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนสมบูรณ์แบบก็จะส่งผลให้เกิดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในระดับโรงเรียนกระจายไปทั่วประเทศ
ยกตัวอย่างลักษณะของพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบของแหล่งการเรียนรู้ในอนาคต ได้แก่
       การมีส่วนร่วมในสังคม เป็นเรื่องของการส่งเสริม และให้บริการ การอำนวย
       ความสะดวกแก่ผู้เข้าชมทุกประเภท
       การให้ผู้ชมเข้าถึงความรู้ในวัตถุของที่จัดแสดงให้มากที่สุด
       พิพิธภัณฑ์ต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เพื่อให้ผู้ชมเข้าถึง
       การบริการ
       การแสดงแบบรายการ (Catalog) และเอกสารสำคัญ ๆ เป็นแบบเชื่อมตรงผ่าน
       อินเตอร์เน็ต
       การให้การบริการเสริมแก่ทุกพื้นที่
       พิพิธภัณฑ์ควรปรึกษาหารือกับกลุ่มคนที่อยู่ในภาวะถูกกีดกันจากสังคมเพื่อรับรู้ปัญหา
       และจัดการบริการจากสังคมเพื่อรับรู้ปัญหาและจัดการบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของบุคคลเหล่านี้
       ผลงานจัดแสดงสะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
       พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ และหอจดหมายเหตุ เป็นสถานที่เรียนรู้ในชุมชน
       พิพิธภัณฑ์เป็นศูนย์ความร่วมมือขององค์กรต่าง ๆ
2. ห้องสมุดมีชีวิต หรือห้องสมุดธรรมชาติ : สิ่งที่เรียนรู้จากชุมชนมีมากมาย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มคนต่าง ๆ ในชุมชน ประวัติประเพณี พิธีกรรมของชุมชน แหล่งการเรียนรู้ทางศาสนา วัฒนธรรม งานอาชีพ การประกอบอาชีพในชุมชน ซึ่งอาจจะเปรียบได้กับห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดและเป็นความจริงที่กำลังเกิดขึ้น
3. ลักษณะของทรัพยากรและการให้บริการ จะมุ่งสู่รุปแบบอิเลคทรอนิคส์มากขึ้น และเป็นระบบอัตโนมัติ

            ลักษณะดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้เนื่องจากมีปัจจัยเกื้อหนุนดังต่อไปนี้
1)      การพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น อุปกรณ์ต่าง ๆ ราคาถูกลง ประกอบกับในประเทศไทยมีโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ซึ่งส่งผลให้ราคาเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วประเทศตกลงมาอยู่ในวิสัยที่สถานศึกษาในระดับเล็ก ๆ ก็สามารถจัดหามาไว้ใช้งานได้ ซึ่งคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การให้บริการอิเลคทรอนิกส์เกิดขึ้นได้ และในทางปฏิบัติแล้วไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องราคาแพง ควรเลือกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถเหมาะสมกับลักษณะงานที่ให้บริการมากกว่า
2)      โครงการแบ่งปันข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ในลักษณะต่าง ๆ ทำให้การลงทุนด้านข้อมูลไม่สูงอย่างในอดีต เช่น โครงการ UNINET หรือ Schoolnet ที่มีการซื้อฐานข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ดี ๆ ในลักษณะของ countrt-licensedทำให้เครือข่ายสามารถให้บริการข้อมูลจากฐานข้อมูลชั้นนำเหล่านี้ได้
3)      ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศ ที่มีเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน รูปแบบความร่วมมือทางวิชาการของประเทศไทยกับต่างประเทศนั้น มีทั้งแบบแลกเปลี่ยนและรับการถ่ายทอดดังนั้นทรัพยากรการเรียนรู้บางส่วนจะถูกกำหนดโดยเงื่อนไขนี้ ยกตัวอย่างเช่น โครงการแลกเปลี่ยนบทเรียนทางไกลซึ่งต่างประเทศได้เตรียมไว้ในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นหากประเทศไทยต้องการเข้าร่วมโครงการนี้ก็จำเป็นต้องปรับบทเรียนให้เป็นแบบอิเลคทรอนิกส์ด้วยเช่นกัน ซึ่งแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ก็จะมีบทบาททั้งการร่วมพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เหล่านี้
3. มีการสร้างเครือข่ายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ที่มีความร่วมมือกันมากขึ้น
            มีการสร้างเครือข่ายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ โดยให้ประชาชนทุกคนได้มีโอกาสเข้าถึงความรู้และสามรถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ต่อเนื่องตลอดชีวิต จึงมีการดึงชุมชน ครอบครัว สถาบันและองค์กรต่าง ๆ มาสร้างแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ขึ้น เพื่อจัดกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ในเชิงประสบการ์และพัฒนาชีวิต ตามความต้องการของผู้เรียนเอง ซึ่งแนวความคิดนี้สอดคล้องกับมาตรา 29 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แม้ว่าปัจจุบันเครือข่ายแหล่งความรู้จะมีบ้างแล้ว เช่น PULINET (A Plan for the Establishment of Provincial University Library Network) เป็นเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค THAILINET M (Thai Academic Library Network Metropolitan) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนกลาง SCHOOLNET   เป็นเครือข่ายโรงเรียนทั่วประเทศ และ UNINET เป็นเครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย แต่พบว่าหน้าที่หลักของเครือข่ายดังกล่าวเป็นรูปของส่วนกลางเป็นผู้ให้ กล่าวคือ ส่วนกลางจัดหาข้อมูลแล้วกระจายไปในเครือข่าย ทำให้เกิดภาวะผู้ให้ และผู้รับ ไม่เกิดภาวะการณ์พัฒนาซึ่งกันและกัน และความร่วมมือเป็นไปในแบบทางเดียว ซึ่งความเป็นจริงก็ไม่ใช้สิ่งที่เกิดความคาดหมาย เนื่องจากสมาชิกในแต่ละเครือข่ายดังกล่าว ก็มีความสามารถในอยู่อย่างเอกเทศได้อยู่แล้ว เช่น มหาวิทยาลัยต่าง ๆ หรือโรงเรียนต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง
4. บทบาทที่แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้จะมีความสำคัญมากขึ้น
1.      การขยายบริการไปสู่รูปแบบของ Virtual Center หรือห้องสมุดในอนาคต
เนื่องจากผลของโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทร ทำให้ประชาชนกลุ่มหนึ่งเข้าสู่อินเตอร์เน็ทได้ ดังนั้นความต้องการใช้งานแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ก็จะต้องพัฒนารูปแบบเป็น Virtual Center เพื่อตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต
ห้องสมุดในอนาคตก็ยังคงทำหน้าที่ไม่ต่างจากเดิม คือ เป็นแหล่งบริการข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีพของมวลชน เพียงแต่รูปแบบการบริการที่จะต้องพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามสมัย รูปแบบห้องสมุดในอนาคตได้แก่ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดดิจิตอล ห้องสมุดเสมือน ห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องสมุดลูกผสม ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library For School Net) ก็เป็นความร่วมมือระหว่างเนคเทค และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำลังร่วมมือพัฒนา และวิทยาลัยดุสิตธานีก็กำลังทำห้องสมุดอัตโนมัติ (Automatic Library)
2.      การมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาและการบริหารการเรียนการสอน
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในประเทศไทยยังมีบทบาทในการพัฒนาและการบริการการเรียนการสอนไม่ชัดเจน แต่เมื่อนโยบายปฏิรูปการศึกษาที่เน้นการศึกษาแบบ child-center และการนำเอาสื่ออิเลคทรอนิกส์มาใช้ทางด้านการศึกษา รวมทั้งแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทยที่เน้นการพัฒนา e-learning ทำให้ต้องเกิดการพัฒนาด้านการเรียนการสอนเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปโดยหน่วยงานกลางในสถานศึกษาที่จะต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบงานด้านนี้คือแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
3.      มีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพการใช้ IT
เมื่อแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้พัฒนาไปถึงระดับหนึ่งแล้ว บุคลากรเริ่มมีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากยิ่งขึ้น ก็จะเข้าสู่กระบวนการของการประเมิน ซึ่งจะต้องเป็นแกนหลักในการประเมินคุณภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและนำมาปรับปรุงการให้บริการและการจัดการทรัพยากรทาง IT ที่คุ้มค่าต่อไป
5. ส่วนการบริหาร และการจัดการ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพให้มากขึ้น
       การวางแผน มีการสำรวจความต้องการของผู้ใช้บริการในด้านต่าง ๆ รวมถึงวิเคราะห์ความพร้อมในด้านต่าง ๆ
       การจัดองค์กร มีการจัดแหล่งการเรียนรู้แยกตามลักษณะของทรัพยากร และจัดระบบให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน
       การจัดบุคลากร ควรกำหนดบทบาท หน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งคัดเลือกคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเป็นคณะกรรมการ
       การวินิจฉัยสั่งการ ผู้มีอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการ ควรคำนึงถึงความสะดวก และความต้องการของผู้ใช้บริการเป็นหลัก
       การประสานงาน ควรสร้างหลักความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ที่มีต่อการจัดระบบ และเชื่อมโยงแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ระหว่างสถาบัน
       การรายงาน ควรศึกษาและประเมินบทบาทแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีต่อการจัดการศึกษาของสถาบันอย่างเป็นระบบ ซึ่งเมื่อผู้ใช้บริการสามารถรายงานหรือแจ้งถึงความต้องการ และปัญหาการใช้งานได้ทันที
       การจัดงบประมาณ มีการแสวงหาความช่วยเหลือด้านการเงิน จากองค์กร หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
6. ส่วนรูปแบบการบริการ
       ควรจัดหาและผลิตทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการเรียนรู้
       จัดเจ้าหน้าที่เพื่ออำนวยความสะดวก ช่วยเหลือ และแนะนำการใช้งานจากแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
       จัดตารางเวลาในการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับวิธีใช้ และการเข้าสู่ระบบเครือข่ายทรัพยากรการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
       ส่งเสริมและสนับสนุน การแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ จากสถาบันต่างประเทศ
       จัดเสนอข่าวสาร วิทยาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่มีส่วนช่วยในกระบวนการเรียนรู้ในรูปของเอกสารและเครือข่าย
บรรณานุกรม
กฤษณา ศักดิ์ศรี. (2530) จิตวิทยาการศึกษา . กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น,.
กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์. (2550). บทความวิชาการ วิเคราะห์และสังเคราะห์ทฤษฎีการเผยแพร่และการยอมรับนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา ตอนที่ 1 พัฒนาเทคนิคศึกษาปีที่ 19 ฉบับที่ 61(ม.ค.-มี.ค.).
กิดานันท์ มลิทอง. (2536). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______________.  (2543) เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.พิมพ์ครั้ที่  2  กรุงเทพฯ :อรุณการพิมพ์.
ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์. (2528)การเลือกและการใช้สื่อการสอน. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. ฉวีวรรณ กินาวงศ์. (ม.ป.ป.).
นิพนธ์ ศุขปรีดี.  (2545) นวัตกรรมเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา. กรุงเทพ:นีลนาราการพิมพ์..
ประหยัด จิราวรพงศ์. (2527). หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีทางการศึกษา. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.
พัชนี เชยจรรยาและคณะ.  (2534).  แนวคิดหลักนิเทศศาสตร์ = Key concepts in communication. กรุงเทพ.
พัสตรา     สุขคง.  ทฤษฎีระบบ. สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ไพโรจน์ เบาใจ.  (2539).  แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต.สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย  : กรุงเทพ,ไทยรายวันการพิมพ์.
วสันต์ อติศัพท์. (2544).  ทิศทางใหม่ของนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา : กระบวนทัศน์ใหม่ของนักเทคโนโลยีการศึกษาและการเตรียมครูแห่งอนาคต, เอกสารประกอบการสัมมนา โสตฯ-เทคโนสัมพันธ์ ครั้งที่ 16, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิทยาลัยนครราชสีมา. Technology in Health Education.
สุรพงษ์ โสธนะเสถียร . การสื่อสารเพื่อการจัดการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย,2549.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542).  พระราชบัญญัติการศึกษา 2542.กรุงเทพมหานคร.
อรพรรณ พรสีมา. (2530).  เทคโนโลยีทางการสอน. กรุงเทพ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
เอกสารการสอนชุดวิชา เทคโนโลยีการสอน. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2543
ชวลิต บัวรมย์แนวโน้มด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาแบบสื่อสารทางไกลของประเทศไทยในปี พ.. 2550.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540
ชัยยงค์ พรหมวงศ์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี, 2536
            การบรรยายพิเศษ เรื่อง “ระบบการเรียนทางไกลผ่านเครือข่าย Internet” คณะศึกษาศาสตร์
            มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2544
ณรงค์ จิตวิศรุตกุล การศึกษาดำเนินงานตามโครงการนิเทศทางไกลของสำนักการประถมศึกษา
จังหวัดลำปาง. รวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ปีการศึกษา 2535 บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กรุงเทพมหานคร.
น้ำทิพย์ สุนทรนันทแนวโน้มการพัฒนาสื่อสำหรับการศึกษาทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน.รวมบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ปีการศึกษา 2534 บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ.
วิจิตร ศรีสอ้านการศึกษาทางไกล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2529
สถาพร จันทเรนทร์รายงานการวิจัย เรื่อง “แนวโน้มเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในปี พ.. 2552” สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2543
สุจิตรา บุญอยู่ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับระบบการศึกษาทางไกลของนักศึกษาในโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
สุภาณี เส็งศรีการพัฒนาระบบการเรียนการสอนทางไกลในสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
ศึกษาธิการ,กระทรวงบทบาทและแนวทางการพัฒนาการศึกษาทางไกลของกระทรวงศึกษาธิการ. รายงานการสัมมนาทางวิชาการกรมการศึกษานอกโรงเรียน กรุงเทพมหานคร, 2546
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) .. 2545.2546.กรุงเทพฯ :
            กระทรวงศึกษาธิการ.
วิริยะ วงศ์เลาหกุล. 2543. การพัฒนาแบบจำลองระบบมหาวิทยาลัยเสมือนจริง. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบันทิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโวฒ.
ยงยศ พรตปกรณ์. 2544. รูปแบบใหม่สถาบันอุดมศึกษา : มหาวิทยาลัยเสมือน. ใน พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์.
การพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา : รวมบทความทางวิชาการกรุงเทพฯ : ภาควิชาอุดมศึกษา
            คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. 2543. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยโทรสนเทศ (Virtual University) ของประเทศไทยกรุงเทพฯ : สกศ.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2544. รายงานการประชุมเรื่อง Virtual Education Forum. [online]Available from: http://www.stou.ac.th/thai/vu/index.asp [25 สิงหาคม 2546]
เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “Virtual Education Workshop” 2542. วันที่ 3 ธันวาคม 2542 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ ปาร์ค กรุงเทพฯ.(เอกสารไม่ตีพิมพ์)
ใจทิพย์ ณ สงขลาการสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ,ครุศาสตร์. 27(3) : 18-28 ;มี..-มิ.. 2542.
ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์เทคโนโลยีการศึกษา. เอกสารโรเนียวกรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มปป.
ถนอมพร ตันพิพัฒน์อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาครุศาสตร์. 1-11 ; ..-.. 2539.
ประหยัด จิระวรพงศ์หลักการและทฤษฎี เทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :
            โรงพิมพ์อมรการพิมพ์มปป.
ปทีป เมธาคุณวุฒิการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ :
            สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
เลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติสำนักงานกรอบนโยบายเทคโนโลยี
            สารสนเทศ ระยะ พ.. 2544-2553 ของประเทศไทยกรุงเทพฯ :
            บริษัทธนาเพรส แอนด์ กราฟฟิก จำกัด, 2545.
วิชุกา รัตนเพียรการเรียนการสอนผ่านเว็บ : ทางเลือกใหม่ของเทคโนโลยีการศึกษาไทย
            ครุศาสตร์. 27 (3) : 29-35 ; มี..-มิ.. 2524
เอกวิทย์ แก้วประดิษฐ์เทคโนโลยีการศึกษา : หลักการและแนวคิดสู่ปฏิบัติสงขลา :
            การผลิตเอกสารและตำรา มหาวิทยาลัยทักษิณ,2545.
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2540). เวิล์ด ไวด์ เว็บ เครื่องมือในการสร้างความรู้การประชุมวิชาการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา เรื่องการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง.กรุงเทพฯ : สมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษาไทย. (อัดสำเนา)
ปรัชญนันท์ นิลสุข (2542). WBT: Web-Based Training เทคโนโลยีการฝึกอบรมครูในอนาคต. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 14(2),79-88.
Greenberg, A.,2002. WBT: The New Millennium-Training at the Speed of Change [Online].
            Available from: http://www.isoc.org/inet99/proceedings/2a/2a_1.html
Driscoll, M.(1999).Myths and Realities of Using WBT to Deliver Training Worldwide.
            Performance Improvement, 38(3), 37-44.
Rada. R.2001. Understanding Virtual Universities.Oregon:Intellect Books.
Steve R.,et al.2000. The Virtual University: The Internet and Resource-Based Learning
            London: Kogan Page Limited.

แหล่งอ้างอิงจากอินเตอร์เน็ต
รศ.ดร.สาโรช โศภีรักข์ , ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน(2546, http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=1&sub1=4&sub2=3)